ผู้ทรงก่อตั้ง
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ผู้ทรงก่อตั้งมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นโดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า เพื่อแก้ปัญหาความ “เจ็บ จน ไม่รู้” อย่างบูรณาการและครบวงจร
“แม่ฟ้าหลวง” เป็นพระสมัญญานามที่ชาวไทยภูเขาพร้อมใจกันเรียกขานสมเด็จย่า เพราะภาพที่พวกเขาเห็นจนชินตา คือ สมเด็จย่าเสด็จฯ ด้วยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง พร้อมกับสิ่งของ อาหาร เครื่องมือ และบุคลากรทางการแพทย์มาเยี่ยมเยียนพวกเขา เสมือนเสด็จฯ จากฟ้ามาปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัย
ในปีพ.ศ.๒๕๔๓ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) บันทึกให้สมเด็จย่าเป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นเพื่อส่วนรวมในสาขาการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ การพัฒนามนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม
จุดเริ่มต้น
ช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเขาเอง
มูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทย ในพระราชูปถัมภ์
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เดิมชื่อ มูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทย ในพระราชูปถัมภ์ ก่อตั้ง
อ่านเพิ่มเติม
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช(รัชกาลที่๙) ทรงรับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเข้าในพระบรมราชูปถัมภ์ ภา
อ่านเพิ่มเติม
เส้นทางแม่ฟ้าหลวง

๒๕๑๕
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงก่อตั้ง ‘มูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทย ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี’

๒๕๓๐
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพื้นที่ดอยตุงบริเวณหน่วยอนุรักษ์ต้นน้ำ ๓๑ ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง” จึงได้ริเริ่มโครงการพัฒนาเต็มรูปแบบที่ดอยตุงและเริ่มการก่อสร้างพระตำหนักดอยตุงเพื่อเป๋็นที่ประทับทรงงาน

๒๕๓๑
เริ่มโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ๙,๙๐๐ ไร่ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเจริญพระชนมายุครบ ๙๐ พรรษา

๒๕๓๒
ก่อตั้ง บริษัท นวุติ จำกัด เพื่อปลูกป่าเศรษฐกิจในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ โดยมีผู้ถือหุ้น ๖ บริษัท ได้แก่ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริษัท มิตซุย (ประเทศไทย) ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารเอเชีย บริษัท เอื้อชูเกียรติ และธนาคารซากุระ หรือ ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงค์กิ้ง คอร์ปอเรชั่น ในปัจจุบัน โ

๒๕๓๓
ก่อตั้งศูนย์ส่งเสริมอาชีพหัตถกรรมเพื่อฝึกอบรมการทอผ้าและเย็บผ้า ปัจจุบันเรียกว่า ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ โดยเปิดบริการร้านแม่ฟ้าหลวงแห่งแรกที่ดอยตุง ปัจจุบันร้านหัตถกรรมทั้งหมดมีชื่อใหม่ว่า ดอยตุงไลฟ์สไตล์

๒๕๓๕
ก่อตั้งศูนย์บำบัดยาเสพติดที่บ้านผาหมี เพื่อให้ผู้ติดยากว่า ๕๐๐ คน กลับเข้าสู่สังคมอย่างมีศักดิ์ศรี

๒๕๓๖
สวนแม่ฟ้าหลวงได้รับรางวัลพาตา โกลด์ อวอร์ด (PATA Gold Award) จากสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สาขาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

๒๕๓๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายหลังสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคตในปี ๒๕๓๘

๒๕๔๑
โรงเรียนบ้านขาแหย่งพัฒนา ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ นำการเรียนการสอนแบบการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism) เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร โดยเน้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ และสร้างสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นใหม่

๒๕๔๓
องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) เฉลิมพระเกียรติยกย่องสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีให้เป็น “บุคคลสำคัญของโลก” โครงการพัฒนาดอยตุงฯ มีรายได้เพียงพอเลี้ยงตนเองจากการทำธุรกิจเพื่อสังคมทั้งในส่วนงานหัตถกรรม ท่องเที่ยว อาหารแปรรูป และเกษตร เพื่อนำไปใช้ในการดำเนิน

๒๕๔๕
เริ่มโครงการ “ดอยตุง ๒” ที่หมู่บ้านหย่องข่า รัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสภาพเมียนมา ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำโครงการขยายผลต่างประเทศ (พ.ศ. ๒๕๔๕- ๒๕๔๗) United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) มอบป้ายติดสินค้าที่มีตราสัญลักษณ์ UNODC และข้อความรับรองว่า “รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์นี้มีส่วนสนับสนุนให้โล

๒๕๔๖
นำการสอนแบบมอนเตสเซอรี่ (Montessori) มาใช้ในโรงเรียนบ้านขาแหย่งพัฒนา ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ สำหรับการศึกษาในช่วงปฐมวัย มีเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เตรียมความพร้อมพื้นฐานให้เด็ก และปลูกฝังอุปนิสัยการเรียนรู้ต่อไป

๒๕๔๙
เริ่มโครงการ “ดอยตุง ๓” ที่จังหวัดบัลคห์ สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน (พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๕) เริ่มโครงการ “ดอยตุง ๔” ที่จังหวัดอาเจะห์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (พ.ศ.๒๕๔๙ – ๒๕๕๓)

๒๕๕๒
หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ตำแหน่งในขณะนั้น) ได้รับเลือกโดย Schwab Foundation for Social Entrepreneurship ให้เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการทางสังคมดีเด่นสำหรับภาคพื้นเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี ๒๕๕๒ เริ่มการขยายผลดอยตุงโมเดล ในโครงการพัฒนา

๒๕๕๕
เริ่มโครงการ “ดอยตุง ๖” ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก และจังหวัดเมืองสาด รัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๖๑)

๒๕๕๖
สมัชชาใหญ่สหประชาชาติรับ “แนวปฏิบัติสากลว่าด้วยการพัฒนาทางเลือก หรือ United Nations Guiding Principles on Alternative Development” ซึ่งเริ่มต้นจากการประชุม ICAD ที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ในปี ๒๕๕๔ อันเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ แก้ไขปัญหาและความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริงและยั่

๒๕๕๗
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับรางวัลนิเคอิเอเชีย (Nikkei Asia) จากหนังสือพิมพ์และสำนักข่าวนิเคอิของประเทศญี่ปุ่น ในฐานะองค์กรยอดเยี่ยมของเอเชียด้านการพัฒนาชุมชนและวัฒนธรรม (Outstanding Organization for Culture and Community)

๒๕๕๘
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) จัดการประชุม Bangkok Forum 2015 หัวข้อ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Well-Being and Sustainable Development) สำหรับผู้เข้าร่วมที่สำคัญคือ Dr. Shamshad Akhtar, Executive Secretary of ESCAP และ Professor Enrico G

๒๕๕๙
ร่วมกับ ป.ป.ส. จัดการประชุม International Conference on Alternative Development (ICAD) ครั้งที่ ๒ เพื่อผลักดันให้ผลจากการประชุม ICAD ครั้งที่ ๑ อันได้แก่ แนวปฏิบัติสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาทางเลือก ไปสู่การปฏิบัติจริงของประเทศสมาชิก โดยนำผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทางเลือกจากทั่วโลกมาศึกษาดูงานโครงการ