Nature-based Solutions (NbS) คืออะไร?

Nature-based Solutions คือโครงการที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกระบวนการทางธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศและสังคม โดยโครงการเหล่านี้มุ่งหวังที่จะฟื้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนาที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

Nature-based Solutions ที่เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง

ตามหลักการ “ปลูกป่า ปลูกคน” เราให้ความสำคัญกับชุมชนท้องถิ่นในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน เพราะเราเชื่อว่าการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปกป้องระบบนิเวศนั้นเชื่อมโยงโดยตรงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในชุมชน วิธีการนี้จึงนำไปสู่ผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศที่ยั่งยืนและมีความหมาย

คาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชน

โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดตั้งขึ้นโดยการนำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญกว่า 30 ปีในด้านการอนุรักษ์ป่าและการพัฒนาชุมชนมาเป็นรากฐานในการพัฒนาโครงการที่ช่วยแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยโครงการนี้ใช้กลไกคาร์บอนเครดิตเป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการเชื่อมชุมชนต้นน้ำที่อาศัยอยู่กับป่าชุมชน และภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้เกิด win-win-win situation โดยป่าได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู ชุมชนได้รับการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพชีวิต และองค์กรธุรกิจได้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและได้จัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับพื้นที่ดอยตุง โดยชุดข้อมูลนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ นอกจากนี้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้ร่วมมือกับองค์กรระดับประเทศและระดับสากลเพื่อผลักดันนโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย พร้อมมองหาแนวทางใหม่ ๆ ในการนำความเชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ มีเป้าหมายที่จะสร้างความสมดุลระหว่างชุมชนกับธรรมชาติ เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับคนรุ่นต่อไป

โครงสร้างการดำเนินงาน:

โครงสร้างการดำเนินงาน:
โครงสร้างการดำเนินงาน:

พื้นที่การดำเนินงาน

ผลกระทบ

ป่าชุมชน
41,310
เฮกตาร์ท

ทัั่วประเทศไทย
ที่ได้รับการปกป้องและดูแล

281
ชุมชน


150,000
คน

เงินทุน 2 ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ

เข้าถึงชุมชนสำหรับกองทุนจัดการไฟป่าและกองทุนพัฒนาชุมชน

กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์
83,890
ตัน

(ข้อมูลจาก 3 ระยะแรก
ของการดำเนินงาน)

ไฟป่าลดลง

โดยรวมในทุกระยะ
ของการดำเนินงาน

พื้นที่ไฟ้าป่า (% ของพื้นที่ทั้งหมดสำหรับระยะที่ 1)