พันธมิตรในการนำแนวทางด้านความยั่งยืนสู่การปฏิบัติ
เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกในวงกว้าง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
บทนำ
ด้วยประสบการณ์การทำงานของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กว่าสี่ทศวรรษในการสร้างผลกระทบเชิงบวกทั้งในประเทศไทยและระดับนานาชาติ ผ่านการยกระดับคุณภาพชีวิตและการฟื้นฟูระบบนิเวศทางธรรมชาติ มูลนิธิฯ เชื่อมั่นว่าเราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนได้ ภารกิจหลักของมูลนิธิฯ คือการพัฒนาศักยภาพของคนให้สามารถเติบโตและก้าวผ่านความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงการรักษาสมดุลระหว่างสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ มูลนิธิฯ ดำเนินงานผ่านแนวทางแบบองค์รวมและการบูรณาการ เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายของชุมชนที่มีความซับซ้อน พร้อมกับสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ และชุมชนระดับรากหญ้า เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน
หัวใจสำคัญของแนวทางการดำเนินงานคือการให้ความสำคัญกับคน โดยให้เขาเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาตนเอง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและครอบคลุมคนทุกกลุ่มโดยปราศจากอคติด้านเชื้อชาติ ศาสนา เพศ วัฒนธรรม หรือภูมิหลัง นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ความโปร่งใส การแก้ปัญหาที่อ้างอิงข้อมูลและหลักฐาน (Evidence-based, data-driven solutions) และมุ่งเน้นการวัดผลลัพธ์เชิงประจักษ์ในพื้นที่
ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาและการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง มูลนิธิฯ มีความมุ่งมั่นอย่างไม่ลดละในการสร้างผลกระทบเชิงบวก ผ่านการเปลี่ยนแปลงระบบและพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน พร้อมทั้งสั่งสมประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง แบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีผ่านศูนย์พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ของมูลนิธิฯ และขยายเครือข่ายความร่วมมือให้กว้างไกลยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางภัยคุกคามที่ทวีความรุนแรงขึ้น ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนทรัพยากร ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และความโลภที่นำไปสู่การกระทำผิดกฎหมาย เป็นต้น การผนึกกำลังและร่วมมือกันลงมือทำเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์เชิงประจักษ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง มูลนิธิฯ ตระหนักถึงความเร่งด่วนและความท้าทายเหล่านี้ มูลนิธิฯ จึงได้จัดตั้งหน่วยงานที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน (Sustainability Advisory) ขึ้นเพื่อใช้จุดแข็งของมูลนิธิฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสร้างผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ผ่านการเป็นผู้ลงมือทำจริง พี่เลี้ยงพาทำ ผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และผู้เชื่อมประสานทุกภาคส่วนและทุกระดับเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
จุดเด่นของมูลนิธิฯ
- ที่ปรึกษาเชิงปฏิบัติการ (Last-mile implementation solutions) เพื่อช่วยในการปฏิบัติด้านความยั่งยืนตามวิสัยทัศน์องค์กรให้เกิดขึ้นจริง และสร้างผลกระทบที่ยั่งยืน
- ตัวอย่างความสำเร็จด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ครอบคลุมมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ยาวนาน เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริงและสามารถวัดผลได้
- ความสามารถในการสร้างการมีส่วนร่วมและศักยภาพในการเชื่อมโยงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และภาคประชาสังคม เพื่อขยายผลประโยชน์ร่วมและผลกระทบที่เกิดขึ้น
- พื้นที่สำหรับการเรียนรู้และตัวอย่างการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจผ่านตัวอย่างเชิงประจักษ์ และเชื่อมโยงแนวคิดเชิงทฤษฎีกับการปฏิบัติจริง
- การเชื่อมโยงมาตรฐานสากลเข้ากับผลกระทบของการดำเนินงาน โดยประยุกต์ใช้ข้อกำหนดของมาตรฐานต่าง ๆ ให้เข้ากับบริบทของโครงการ และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส


สิ่งที่มูลนิธิฯ สามารถช่วยในการดำเนินการได้
- วางแผนกลยุทธ์และจัดลำดับความสำคัญของเส้นทางความยั่งยืนขององค์กร ให้สอดคล้องกับทิศทางธุรกิจและการดำเนินงานขององค์กร แนวโน้มและการดำเนินงานในอุตสาหกรรม ตลอดจนผลกระทบ ความเสี่ยง และโอกาสที่องค์กรเผชิญ
- ร่วมมือพัฒนาโครงการความยั่งยืนที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ครอบคลุมการประเมินความต้องการของชุมชน การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การออกแบบโครงการและแผนปฏิบัติการ การดำเนินงานเชิงเทคนิค การบริหารโครงการ ไปจนถึงการประเมินผลกระทบและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
- เป็นที่ปรึกษาเชิงปฏิบัติการในประเด็นด้านความยั่งยืนเฉพาะทางที่อาศัยความเชี่ยวชาญเชิงเทคนิคและการบริหารจัดการ โดยอิงจากประสบการณ์การดำเนินงานจริงของมูลนิธิฯ ครอบคลุมการจัดการก๊าซเรือนกระจก การจัดการขยะ การบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาชุมชน การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การแก้ไขปัญหาที่อาศัยธรรมชาติ (Nature-based Solutions) และอื่น ๆ
- ให้คำแนะนำในประเด็นด้านความยั่งยืนอื่น ๆ ตามบริบทและเส้นทางความยั่งยืนของแต่ละองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรมีรากฐานที่แข็งแกร่ง มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และสามารถสร้างผลกระทบที่ยั่งยืนได้
แบ่งปันประสบการณ์ของมูลนิธิฯ
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จากความสำเร็จของมูลนิธิฯ ในการจัดการขยะสู่บ่อฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill) ความมุ่งมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และเส้นทางสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circularity) ที่เราดำเนินมา …
ความเชี่ยวชาญของมูลนิธิฯ
- คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรและผลิตภัณฑ์
- กลยุทธ์และแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
- การจัดการขยะ (ขยะสู่บ่อฝังกลบเป็นศูนย์)
- การรับผิดชอบบรรจุภัณฑ์ (Extended producer responsibility: EPR)
- เศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับผลิตภัณฑ์และองค์กร
ความหลากหลายทางชีวภาพ และธรรมชาติ
โครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ของมูลนิธิฯ มีรากฐานอยู่บนหลักการของการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ การบริหารจัดการน้ำจึงมักเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญ นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ได้ฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ป่ากว่า 600,000 ไร่ ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน ซึ่งส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น
ปัจจุบัน มูลนิธิฯ มุ่งสานต่อจากข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในปีฐาน โดยดำเนินการ ประเมินและบริหารจัดการผลกระทบ ความเสี่ยง และการพึ่งพาความหลากหลายทางชีวภาพ ในฐานะหนึ่งในผู้ริเริ่มนำกรอบ Task Force on Nature-related Financial Disclosures (TNFD) มาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ระยะแรก …
ความเชี่ยวชาญของมูลนิธิฯ
- การวางแผน การดำเนินการ และการประเมินโครงการด้านการบริหารจัดการน้ำ
- การประเมินด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
- การแก้ไขปัญหาที่อาศัยธรรมชาติ (Nature-based solutions)
- การปลูกป่า
- การพัฒนา ติดตาม และประเมินโครงการคาร์บอนเครดิตในป่า
- การขึ้นทะเบียนและการทวนสอบคาร์บอนเครดิต
การพัฒนาชุมชนและพันธมิตร
โมเดลการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของเรานำไปสู่การสร้างประโยชน์ร่วมกับทุกภาคส่วนและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
ความเชี่ยวชาญของมูลนิธิฯ
- การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การสำรวจข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของชุมชน
- กลยุทธ์และการดำเนินการโครงการพัฒนาชุมชน (CSR/ CSV)
- การพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม
- การประเมินและการเปิดเผยข้อมูลผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม และสิ่งแวดล้อม
- การศึกษาดูงาน การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในพื้นที่ และการอบรมเชิงเทคนิค
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การจัดสัมมนา การประชุมด้ความยั่งยืน

