โครงการพัฒนาทางเลือกเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ไทย-เมียนมา “ขยายผลการพัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืนในเมียนมา ทั้งพื้นที่ปลูกฝิ่น และเส้นทางการค้าลำเลียงยาเสพติดตามแนวชายแดน”

ข้อมูลพื้นฐาน

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

พ.ศ. 2561 – 2568

พื้นที่โครงการ

หนองตะยา 289,935 ไร่ ท่าขี้เหล็ก 106,810 ไร่

ผู้รับประโยชน์

ประชากรหนองตะยา 26,953 คน
ประชากรท่าขี้เหล็ก 7,462 คน

ภาพรวมโครงการ

โครงการนี้เป็นโครงการขยายผลจากพื้นที่เดิมคือจังหวัดท่าขี้เหล็กและเมืองสาดที่ดำเนินงานระหว่างปี 2556-2560 โดยเป้าหมายหลักของโครงการคือการสานต่อภารกิจลดการแพร่ระบาดและการค้ายาเสพติดในพื้นที่ ด้วยการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน ช่วงแรกมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เข้าไปพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างระบบน้ำ และเพิ่มความมั่นคงทางอาหารด้วยการเพิ่มผลผลิตข้าว ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สัตวบาล จัดตั้งกองทุนยารักษาสัตว์ และส่งเสริมการปลูกหญ้าเนเปียร์ที่เหมาะเป็นอาหารสัตว์ เพื่อให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากนั้นจึงเตรียมดำเนินงานขั้นต่อไป คือการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมตามสภาพภูมิประเทศและภูมิสังคม เช่น การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลูกกาแฟ ปลูกชา เพื่อเพิ่มโอกาสทางอาชีพ

ชาวบ้านได้อะไร

23%

ของชาวบ้านในพื้นที่โครงการ
ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบน้ำ ทำให้มีน้ำอุปโภคใช้ตลอดปี และปลูกพืชหลังนาได้เพิ่มขึ้น
ชาวบ้านเข้าถึงน้ำสะอาด ลดรายจ่ายในการซื้อน้ำ

139,680 บาท

ส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ร่วมกับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด เพิ่มกำไรให้เกษตรกร

457,710 บาท

เทคนิคการแปรรูปชาเพิ่มราคาชาต่อกิโลกรัมขึ้น

90%

สามารถนำไปขยายผลให้เกษตรกรชารายอื่นๆ
กองทุนเป็ดและไก่เพิ่มสินทรัพย์ ครัวเรือนรวมมูลค่า

227,250 บาท

การจ้างแรงงานในพื้นที่สร้างรายได้รวม

813,667 บาท

โครงการร้อยใจรักษ์ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

ข้อมูลพื้นฐาน

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

พ.ศ. 2561 – 2572

พื้นที่โครงการ

37,119 ไร่ พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยเมืองงาม ครอบคลุม 4 หมู่บ้านหลัก ได้แก่ บ้านเมืองงามเหนือ, บ้านห้วยส้าน, บ้านหัวเมืองงาม และบ้านเมืองงามใต้ และอีก 20 หมู่บ้านย่อยในตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้รับประโยชน์

ประชากร 4,297 คน
จาก 1,067 ครัวเรือน

ภาพรวมโครงการ

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับการชักชวนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยการสร้างโอกาสและทางเลือกในการทำงานสุจริตแก่ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยส้านและลุ่มน้ำห้วยเมืองงาม เน้นการแก้ปัญหาที่แก่นคือความยากจนและการขาดโอกาส ด้วยการจูงใจให้ชาวบ้านหันมาประกอบอาชีพสุจริตแทนการทำสิ่งผิดกฎหมายและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้ชุมชน เป้าหมายระยะยาวคือการพัฒนาโครงการให้เป็นต้นแบบการแก้ปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่สังคมเมืองอย่างยั่งยืน

ชาวบ้านได้อะไร

ชาวบ้าน

2,684 คน

(62% ของชาวบ้านในพื้นที่โครงการ)
ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบน้ำอุปโภคและบริโภค ทำให้สามารถมีน้ำใช้ตลอดปี
พื้นที่ได้รับน้ำเพิ่ม

3,554 ไร่

(25% ของพื้นที่ทำการเกษตรในพื้นที่โครงการ)
เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร 1,123 คน
ผลผลิตข้าวนาเพิ่มขึ้น

30%


ผลผลิตข้าวไร่เพิ่ม

12%

การส่งเสริมด้านการเกษตร เช่น การปลูกฟักทอง เก๊กฮวย สร้าง รายได้รวม

1,585,582 บาท

(62% ของชาวบ้านในพื้นที่โครงการ)
พร้อมลดรายจ่ายผ่านกิจกรรมปลูกผักสวนครัว ‘ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก’
ร่วมกับบริษัท ซีพี สตาร์เลนส์ สนับสนุนช่องทางการตลาดและองค์ความรู้ให้กับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจไม้ผลบ้านห้วยส้าน สามารถส่งผลผลิตขายตลาดต่างประเทศ สร้างรายได้รวม

804,225 บาท

กองทุนปศุสัตว์เพิ่มความมั่นคงทางอาหารและสินทรัพย์ของครัวเรือน มูลค่ารวม

1,456,070 บาท

การจ้างงานกลุ่มสตรีบ้านห้วยส้านผลิตสินค้าหัตถกรรมภายใต้แบรนด์ดอยตุง สร้างรายได้ทั้งสิ้น

1,005,241 บาท

ตลาดชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาด้านการแปรรูปและท่องเที่ยว สร้างรายได้รวม

3,664,652 บาท

สนับสนุนสื่อการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรีให้กับเด็กนักเรียนในระดับ อนุบาล-ประถมศึกษา ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 แห่งในพื้นที่โครงการ จำนวนเด็กนักเรียนที่ได้ประโยชน์ทั้งหมด

761 คน

ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ส. และหน่วยราชการในพื้นที่ ดำเนินกิจกรรมอาสาทำดี ซึ่งนำผู้เสพยาเสพติดที่สมัครใจเลิกยาด้วยตนเอง รวม

146 คน


มีทักษะและทุนประกอบอาชีพเพื่อให้มีโอกาสในการประกอบอาชีพสุจริตภูมิคุ้มกันต่อการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีกในอนาคต ส่งผลให้มีคนที่กลับมาเสพซ้ำเพียง

12%

จ้างงานชาวบ้านเพื่อสนับสนุนงานของโครงการ สร้างรายได้ให้คนในพื้นที่ประมาณ

150 คน


เฉลี่ยรวม

1,240,000 บาท/เดือน

มหาวิทยาลัยที่มีชีวิต

ต้นไม้ทุกต้นและผืนแผ่นดินทุกตารางนิ้วในโครงการพัฒนาดอยตุงฯ มีองค์ความรู้อันมีคุณค่ามหาศาลแฝงอยู่ เปรียบเสมือนแหล่งรวมประสบการณ์และบทเรียนการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถแก้ปัญหาความยากจนอย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปปรับใช้ในบริบทที่แตกต่างกันได้

การเป็นต้นแบบให้คนเรียนรู้และนำไปแก้ปัญหาในพื้นที่ตัวเองนำมาสู่การเป็น ‘มหาวิทยาลัยที่มีชีวิต’ หรือห้องเรียนที่สร้างคนรุ่นใหม่ที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ช่วยลดช่องว่างทางความคิดและทางเศรษฐกิจในสังคม ระหว่างคนเมืองและพื้นที่ห่างไกล

ปัจจุบัน โครงการพัฒนาของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ โดยเฉพาะที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้ต้อนรับผู้คนจำนวนมากที่แวะเวียนมาศึกษาดูงาน ทั้งหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน มหาวิทยาลัย องค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนนักเรียนนักศึกษา โดยมีนักพัฒนาของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในห้องเรียนแห่งนี้ ผู้เรียนจะได้ลองถอดรองเท้าคลุกฝุ่นดิน ลงพื้นที่เพื่อรับฟังเสียงของชาวบ้าน ได้เรียนรู้และสัมผัสโลกความจริง เพื่อช่วยกันเยียวยาคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินเดียวกัน

โจทย์และเส้นทางที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ กำลังก้าวเดินต่อไป คือ ทำอย่างไรให้องค์ความรู้ที่มีเกิดประโยชน์กับสังคม ประเทศไทย และโลก เพื่อให้ศาสตร์พระราชาและตำราสมเด็จย่าออกเดินทางไกลไปช่วยเหลือผู้คนได้ไม่สิ้นสุด

การขับเคลื่อนนโยบาย

นอกจากการพัฒนาและลงพื้นที่ปฏิบัติงานแล้ว บทบาทอีกด้านของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาเพื่อสืบสานพระราชปณิธาน โดยนำศาสตร์พระราชาและตำราแม่ฟ้าหลวงไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในวงกว้าง ในประเทศไทย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เป็นหน่วยงานหลักในการก่อตั้งสมาคมธุรกิจเพื่อสังคมแห่งประเทศไทย (SE Thailand) ที่มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคมให้ประสบความสำเร็จ ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม 

ส่วนในเวทีระดับสากล มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ก็มีบทบาทหลักร่วมกับรัฐบาลไทยและประเทศพันธมิตรในการเป็นผู้ร่วมกำหนดนโยบายในเวทีการพูดคุยทางการเมืองระดับสูง เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนระดับโลก อาทิ การประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด Commission on Narcotic Drugs (CND) การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก ESCAP (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific) การประชุมคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ECOSOC (United Nations Economic and Social Council) และการประชุมสมัยพิเศษของสมัชชาสหประชาชาติ UNGASS (United Nations General Assembly Special Session) เป็นการช่วยเสริมบทบาทประเทศไทยในแง่การเผยแพร่องค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงในนานาประเทศ

previous arrow
next arrow
previous arrownext arrow
Slider

โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน

ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ พัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติผ่าน 4 กิจกรรมหลัก ดังนี้

พื้นที่การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน (ศูนย์ใฝ่ดี)

ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้จัดกิจกรรมรวม 13 หลักสูตรเพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้มีประสบการณ์จริงจากการลงมือทำด้านอาชีพและกิจกรรมสร้างสรรค์ยามว่าง ได้แก่ จูเนียร์เชฟดอยตุง ใฝ่ดีคาเฟ่ บรรณารักษ์น้อย การดับไฟป่าเบื้องต้น คัดแยกขยะ เกษตรดอยตุง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น นักสืบสวนสอบสวน ยิงธนูจากไม้ไผ่ ขนมไทย ดนตรี ศิลปะ นันทนาการ เพื่อบ่มเพาะพลเมืองดีเพื่อสานต่อความยั่งยืนในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เพื่อให้เยาวชนมีสิ่งยึดเหนี่ยวในจิตใจ ไม่ไขว้เขวกับสิ่งยั่วยุ พร้อมทั้งฝึกทักษะความเป็นผู้นำและการบริหารจัดการ

การมอบทุนการศึกษาให้เยาวชนในพื้นที่ดอยตุง

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ มอบทุนการศึกษาให้เยาวชนในพื้นที่ศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษามาอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละประมาณ 20 คน นอกจากนี้ยังมีการแนะแนวการศึกษาต่อ การพัฒนาทักษะและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด การวางแผนชีวิตหลังเรียนจบ และสนับสนุนให้กลับมาทำงานในท้องถิ่นของตนเอง

ค่ายเด็กใฝ่ดี

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ น้อมนำหลักการและพระวิสัยทัศน์ของสมเด็จย่าจัดกิจกรรม “ค่ายเด็กใฝ่ดี” ณ โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ร่วมกับมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันกับธรรมชาติ ช่วยลดช่องว่างทางสังคมสำหรับเด็กและเยาวชนในเมืองใหญ่ ได้ค้นพบความหมายของชีวิตจากกระบวนการเรียนรู้ “สร้างความรัก จากความรู้ อยู่กับความงาม”

สมัครค่ายใฝ่เด็กดี

โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนเสริมสร้างเครือข่ายป้องกันยาเสพติด (ค่ายเด็กหอฝิ่น)

ค่ายเด็กหอฝิ่นเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2557 เพื่อเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ดีในใจของเด็กและเยาวชนวัย 9-18 ปีในจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงให้ตระหนักถึงอันตรายของยาเสพติดและใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ห่างไกลยาเสพติด โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการปีละประมาณ 2,000คน

โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ภาพรวมโครงการ

ย้อนกลับไปกว่าสามสิบปีก่อน พื้นที่บนดอยสูงในเขตอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย หากมองจากมุมมองของนก คงเป็นเพียงผืนดินสีน้ำตาลแดงของภูเขาหัวโล้นทอดยาวสุดลูกหูลูกตา แซมด้วยจุดสีเขียวเล็กจ้อยกระจายตัวอยู่เพียงประปราย

ดอยตุงในอดีตคือดินแดนที่ผู้คนในพื้นที่แห่งนั้นเข้าไม่ถึงสาธารณูปโภคพื้นฐานและขาดความรู้ด้านการเกษตร มีชีวิตที่แร้นแค้นและตกอยู่ในวังวนของปัญหา นำมาซึ่งการประกอบอาชีพผิดกฎหมาย ปลูกและค้าสิ่งเสพติดขายให้กองกำลังชนกลุ่มน้อย มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของวงจรการขายและเสพยาเสพติด รวมถึงการค้าประเวณีเพื่อหวังจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จนนำมาสู่การสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาถึงในพื้นที่เมื่อสมเด็จย่าเสด็จฯ มาเยือนดอยตุงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2530 และทรงตระหนักว่ารากเหง้าของปัญหา คือ ความยากจนและขาดโอกาสในการดำเนินชีวิต จึงทรงริเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุงฯ เมื่อพระชนมายุ 87 พรรษา ซึ่งเป็นวัยที่หลายคนลงความเห็นว่าควรพักผ่อน แต่พระองค์ทรงเลือกที่จะทรงงานต่อเนื่องดังที่เป็นมา

โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เริ่ม ‘ปลูกคน’ ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่ให้ดีขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอน บนความเชื่อสำคัญที่ว่า หากสร้างหนทางให้ชาวบ้านหลุดพ้นจากวงจร ‘ความเจ็บป่วย ความยากจน และความไม่รู้’ ได้ ปัญหาสังคมและการทำลายธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดก็จะหมดไปในที่สุด สมเด็จย่าจึงมีพระราชปณิธานที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งพื้นที่และชีวิตชาวไทยภูเขา ดังพระราชดำรัสที่ว่า

ตกลงฉันจะมาปลูกบ้านที่นี่
แต่ถ้าไม่มีโครงการดอยตุง
ฉันก็จะไม่มาปลูกบ้านที่นี่
ฉันอยากปลูกป่ามาสิบกว่าปีแล้ว
แต่ไม่มีใครรับปากฉัน
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

แม้เราจะหวังให้เห็นความสำเร็จเกิดขึ้นในชั่วพริบตา แต่ความจริงนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาใดสำเร็จได้ชั่วข้ามคืน โครงการพัฒนาดอยตุงฯ จึงแบ่งการพัฒนาทั้งหมดออกเป็น 3 ระยะ

ระยะที่ 1 : ‘อยู่รอด’

ขั้นแรกเป็นการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต วางระบบสาธารณูปโภคและสาธารณสุข เพื่อให้ชุมชน ‘อยู่รอด’ พ้นจากความอดอยาก และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมอาชีพระยะต้น โดยไม่บุกรุกทำลายพื้นที่ป่าเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เพื่อให้ชาวบ้านสามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และลดปัญหาหนี้สินในครัวเรือน

อาชีพแรกบนดอยตุงที่มาพร้อมกับการฟื้นฟูผืนป่าคือการปลูกพืชเศรษฐกิจ โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้มอบสิทธิ์ให้ชาวบ้านเป็นเจ้าของต้นกาแฟ หากใครดูแลต้นกาแฟได้ผลผลิตดี มีคุณภาพก็จะได้ผลตอบแทนมากขึ้นตามไปด้วย ความรู้สึกเป็นเจ้าของทำให้ชาวบ้านเอาใจใส่และดึงศักยภาพของตนเองมาใช้อย่างเต็มที่ จนหลายคนสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่การเป็นเจ้าของกิจการกาแฟได้ในที่สุด พืชเศรษฐกิจอีกหนึ่งประเภทคือแมคคาเดเมีย ซึ่งเป็นถั่วราคาสูง สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายและขายได้ราคาดี อีกทั้งยังยืนต้นอยู่ได้นาน ถ้าดูแลดีๆ ก็เปรียบเสมือนเพื่อนคู่ครอบครัวที่เติบโตไปพร้อมลูกหลาน

จากนั้นเข้าสู่การพัฒนาขั้นถัดมาคือ

ระยะที่ 2 : ‘พอเพียง’

เน้นการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการเพิ่มมูลค่าผลผลิตในท้องถิ่น ส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมกับภูมิสังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อปพื้นฐานให้ชุมชนสามารถนำไปต่อยอดสร้างรายได้ระยะยาวที่มั่นคงได้ โครงการพัฒนาดอยตุงฯ จัดสรรอาชีพรองรับคนรุ่นใหม่ที่สนใจงานประเภทอื่นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นงานในโรงงานแปรรูป งานหัตถกรรม และยังมีงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รวมไปถึงงานด้านการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดการจ้างงานและสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีความรักในถิ่นฐานบ้านเกิด

เพื่อให้การพัฒนานั้นก้าวเดินไปข้างหน้า และเป็นหนทางที่จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ที่มั่นคงให้ชุมชนดอยตุงอย่างยั่งยืน การส่งเสริมอาชีพสุจริตในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคมในนาม “แบรนด์ดอยตุง” จึงถือกำเนิดขึ้น ดอยตุงสามารถเลี้ยงตัวเองได้ตั้งแต่ปี 2543 ด้วยรายได้จากธุรกิจเพื่อสังคมต่างๆ 5 กลุ่ม ได้แก่ หัตถกรรม อาหารแปรรูป คาเฟ่ เกษตร และการท่องเที่ยว ถือเป็นการสร้างต้นแบบในการยืนหยัดด้วยตนเองให้กับชาวบ้าน รายได้ที่ได้จากธุรกิจเพื่อสังคมบนดอยตุง ส่วนหนึ่งคืนกลับสู่ชาวบ้านและชุมชน ส่วนหนึ่งนำมาใช้ในการพัฒนาในด้านสาธารณสุข การศึกษา และสิ่งแวดล้อมบนดอยตุงนั่นเอง

แบรนด์ดอยตุง

เป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่ผลิดอกออกผลจากโครงการพัฒนาดอยตุงฯ หัวใจหลักของการสร้างธุรกิจอยู่ที่การพัฒนาศักยภาพคน การบริหารจัดการธุรกิจอย่างมืออาชีพ และการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังแนวพระราชดำริที่สมเด็จย่าทรงริเริ่มไว้ ไม่เพียงผสมผสานภูมิปัญญาชาวบ้านเข้ากับการบริหารจัดการทางธุรกิจที่ทันสมัยอย่างมืออาชีพเท่านั้น หากโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ยังจัดหานักออกแบบร่วมสมัยเพื่อพัฒนาสินค้าที่มีอยู่ พัฒนาทักษะต่างๆ ให้ชาวบ้านสามารถต่อยอดและนำไปสู่การพึ่งพิงตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งทรัพยากรจากภายนอก ทั้งยังสร้างช่องทางการตลาดที่เผยแพร่ให้ทั้งสินค้าและบริการของแบรนด์ดอยตุงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกประเทศ

doitung.com

ปัจจุบันโครงการพัฒนาดอยตุงฯ อยู่ในก้าวย่างสำคัญของการพัฒนาไปสู่

ระยะที่ 3 : ‘ยั่งยืน’

โดยได้ก้าวกระโดดจากจุดเริ่มต้นที่เป็นโครงการปลูกพืชทดแทนยาเสพติดสู่โครงการพัฒนาทางเลือกที่หลากหลายในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้ชุมชนพ้นความยากจน เลิกยุ่งเกี่ยวกับการปลูกพืชเสพติดและเสริมศักยภาพของชาวบ้านให้มีทักษะ มีความคิด และมีความสามารถทางธุรกิจ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน สำนักงานควบคุมยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติมอบตราสัญลักษณ์ UNODC ติดบนผลิตภัณฑ์แบรนด์ดอยตุงเพื่อยืนยันความสำเร็จจากการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธีด้วยแนวทางการพัฒนาการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน

โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ให้ความสำคัญกับการศึกษาของเด็กและเยาวชน ปลูกฝังแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เสริมสร้างศักยภาพอย่างเต็มที่โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ใช้แนวทางการสอนแบบมอนเตสซอรี (Montessori) กับเด็กปฐมวัย เน้นสอนให้เด็กๆ เรียนรู้ผ่านกระบวนการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism) ตลอดจนกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายครอบคลุมไปจนถึงระดับมัธยมศึกษา ทั้งการเรียนรู้ด้วยภาระงานเป็นฐาน (Task-Based Learning) การจัดการเรียนรู้แบบทำโครงงาน (Project-Based Learning) และการเรียนรู้พื้นฐานและทักษะอาชีพ (Vocational Learning) ที่สอดคล้องกับความต้องการ เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่พร้อมก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก นับเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันชีวิต ปั้นผู้นำรุ่นใหม่ที่เข้มแข็ง สามารถนำชาวบ้านพัฒนาชุมชนบ้านเกิดของตนเองต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2559 โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เร่งผลักดันการเรียนการสอนภาษาไทยแก่เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ สนองพระราชปณิธานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยเรื่องการศึกษาภาษาไทยของเยาวชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายลดจำนวนเด็กที่อ่านและเขียนภาษาไทยไม่ได้ให้เป็นศูนย์

ปัจจุบันมีนักเรียนในพื้นที่ที่เรียนจบแล้วกลับมาทำงานในตำแหน่งต่างๆ ในโครงการพัฒนาดอยตุงฯ เพื่อสานต่อการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมองจากมุมมองของนกในวันนี้ จะเห็นว่าเมล็ดพันธุ์แห่งแรงบันดาลใจที่สมเด็จย่าทรงหว่านไว้ที่ดอยตุง จังหวัดเชียงราย เติบโตกลายเป็นเนินเขาเขียวชอุ่มสุดลูกหูลูกตา ภายใต้ร่มเงานั้นคือความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนของราษฎรในพื้นที่

อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง

งานฝีมืออันงดงามและเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยภูเขาหลากหลายชนเผ่าเป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดในการจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทย ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อ พ.ศ. 2515 เพื่อรับซื้องานหัตถกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์จากหมู่บ้านต่างๆ มาจำหน่ายในราคาที่เป็นธรรม

อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวงริเริ่มโครงการผู้นำเยาวชนชาวเขา (Hill Tribe Youth Leadership) ระหว่าง พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2528 เพื่อสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนชาวเขาจากถิ่นห่างไกลที่การศึกษายังเข้าไม่สามารถเข้าถึง โดยเป็นที่พักพิงให้เยาวชนเหล่านี้มาอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว ช่วยกันทำงานบ้าน ปลูกผัก ทำอาหารด้วยกัน เพื่อฝึกการพึ่งพาตนเอง การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้น นอกจากจะได้รับการศึกษาจากการโรงเรียนเรียนในโรงเรียนในเมืองแล้ว พวกเขายังได้รับการสอนวิชาการพื้นฐานและทักษะการดำรงชีวิต ซึ่งจะปูพื้นฐานทักษะเหล่านี้ให้พวกเขามีความเสียสละ ขยัน และเป็นผู้นำที่มีคุณธรรมต่อชุมชนพวกเขาในอนาคต เป็นที่มาของการเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า ‘ไร่แม่ฟ้าหลวง’ ที่ไม่ได้ปลูกพืช แต่มีพันธกิจในการ “ปลูกคน”

ต่อมา โครงการพัฒนาชนบทโดยภาครัฐเริ่มเข้าถึงชุมชนห่างไกลมากขึ้น อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวงจึงปรับบทบาทมาเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมล้านนา ปัจจุบันถือเป็นที่เก็บรักษาและรวบรวมศิลปะล้านนาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ‘อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง’

previous arrow
next arrow
previous arrownext arrow
Slider