มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ มอบเงินสนับสนุน 1.5 ล้านบาทแก่โครงการอาหารโลก เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในเมียนมา

หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้แทนส่งมอบเงินบริจาคจำนวน 1,500,000 บาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากการระดมทุนของเครือข่ายภาคีและผู้สนับสนุนของมูลนิธิ ให้แก่ ซาเมีย วันมาลี อำนวยการโครงการอาหารโลกแห่งองค์การสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เพื่อสนับสนุนการจัดหาอาหารและความช่วยเหลือด้านโภชนาการให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

กาแฟดอยตุง ธุรกิจกาแฟที่สร้างความยั่งยืนให้ชุมชน

รู้ไหมว่า ทุกครั้งที่คุณจิบกาแฟดอยตุง แบรนด์กาแฟของไทย คือการได้ต่อยอดวิถีชีวิตของชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ดอยตุง จังหวัดเชียงรายให้สามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างพึ่งพาอาศัยและยั่งยืน ลดการทำลายป่าและยังช่วยสนับสนุนให้กาแฟคุณภาพดีจากประเทศไทยสามารถเติบโตไปได้ในตลาดโลก

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ร่วมประชุมระดับโลก Earthna Summit 2025

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโดฮา โดย นายศิระ สว่างศิลป์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโดฮา ร่วมกับ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย นางสาววิสิษฐ์อร รัชตะนาวิน ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ เข้าร่วมการประชุมระดับโลก Earthna Summit 2025

“The Coffee House by DoiTung” ที่สุดของร้านกาแฟสายพันธุ์พิเศษสัญชาติไทย จากแหล่งสร้างความยั่งยืนบนดอย…สู่โครงการแลนด์มาร์คระดับประเทศ “One Bangkok”

ภายใต้พื้นที่พัฒนาที่สร้างความยั่งยืนให้คนบนดอยสูง กลายเป็นแหล่งกำเนิดกาแฟสายพันธุ์พิเศษที่เต็มไปด้วยเรื่องราวและจิตวิญญาณของผู้คน กาแฟดอยตุงได้ก้าวข้ามขีดจำกัดจากไร่สู่แก้วกาแฟในเมืองหลวง สู่การเป็นส่วนหนึ่งของแลนด์มาร์คระดับประเทศ ณ โครงการ One Bangkok (วัน แบงค็อก) พร้อมเปิดประสบการณ์เหนือระดับผ่าน The Coffee House by DoiTung (เดอะ คอฟฟี่ เฮ้าส์ บาย ดอยตุง) คาเฟ่กาแฟสเปเชียลตี้ฝีมือคนไทย ตอกย้ำความสำเร็จของกาแฟไทยบนเวทีโลก

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ภายใต้แบรนด์ดอยตุง ส่งต่อองค์ความรู้ Zero Waste to Landfill สู่อุตสาหกรรมบันเทิงเป็นครั้งแรก

ท่ามกลางกระแสซีรีส์ไทยที่เติบโตสู่ระดับนานาชาติอย่างก้าวกระโดดและต่อเนื่อง กลายเป็นพื้นที่สื่อสารที่ทรงพลังที่สุดแห่งหนึ่งของยุค ที่ไม่เพียงสร้างชื่อเสียง และรายได้มหาศาลให้บุคลากรในวงการฯ และประเทศชาติ ยังเป็นกระบอกเสียงเล่าเรื่องของคนที่ถูกมองข้าม ความเท่าเทียม และช่วยขับเคลื่อนความเข้าใจเรื่องความหลากหลายให้กับสังคม

UNODC ร่วมกับ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ หารือเรื่อง “การพัฒนาทางเลือกอย่างยั่งยืน” เพิ่มเติมมิติสิ่งแวดล้อมกับการแก้ปัญหาการปลูกพืชเสพติด

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานกรรมการและหม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล (ที่ 2 จากขวา) เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เข้าพบหารือถึงแนวทางความร่วมมือในการทำงานเรื่องพัฒนาทางเลือกอย่างยั่งยืนและการแก้ไขวิกฤตปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกร่วมกับ สำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ขยายความสำเร็จ 36 ปี สานต่อตำราสมเด็จย่า ด้วยพันธกิจใหม่ ให้คำปรึกษาด้านความยั่งยืน จับมือพันธมิตรรับมือวิกฤติโลกร้อน

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำประสบการณ์ “ปลูกป่า ปลูกคน” ผ่านตำราแม่ฟ้าหลวงมายาวนานกว่า 3 ทศวรรษ มาปรับแผนองค์กรใหม่ ตั้งหน่วยงาน “ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน” ตอบโจทย์สภาวะโลกในปัจจุบัน ชวนเครือข่ายภาคีทั้งรัฐและเอกชนดำเนินงานรับมือวิกฤติโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนในมิติต่างๆ ของโลกให้ขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วขึ้น

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด (CND) สมัยที่ 68 ร่วมผลักดันแนวทางพัฒนาทางเลือก เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนในระดับโลก

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดย ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ประธานกรรมการ หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมคณะผู้บริหารและทีมงาน ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด (Commission on Narcotic Drugs – CND) สมัยที่ 68 ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย เมื่อเร็วๆ นี้

เรื่องเล่าจากป่าของ Martin van de Bult นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ ผู้ค้นพบพืชสปีชีสใหม่ในไทย หลังทำงานวิจัยฟื้นฟูป่าไทยมากว่าสิบปี

เรื่องเล่าจากป่าของ Martin van de Bult นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ และนักพฤกษศาสตร์และนิเวศวิทยา มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ค้นพบพืชสปีชีสใหม่ในไทย ทำงานวิจัยฟื้นฟูป่าไทยมากว่าสิบปี