มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานกรรมการและหม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล (ที่ 2 จากขวา) เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เข้าพบหารือถึงแนวทางความร่วมมือในการทำงานเรื่องพัฒนาทางเลือกอย่างยั่งยืนและการแก้ไขวิกฤตปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกร่วมกับ สำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) โดย นางกาดา ฟาติ วาลี (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา โดยมี นางสาวภัทรัตน์ หงษ์ทอง (ที่ 3 จากขวา) เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา ร่วมประชุมด้วย ณ สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย เมื่อเร็วๆ นี้
admin
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ขยายความสำเร็จ 36 ปี สานต่อตำราสมเด็จย่า ด้วยพันธกิจใหม่ ให้คำปรึกษาด้านความยั่งยืน จับมือพันธมิตรรับมือวิกฤติโลกร้อน
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำประสบการณ์ “ปลูกป่า ปลูกคน” ผ่านตำราแม่ฟ้าหลวงมายาวนานกว่า 3 ทศวรรษ มาปรับแผนองค์กรใหม่ ตั้งหน่วยงาน “ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน” ตอบโจทย์สภาวะโลกในปัจจุบัน ชวนเครือข่ายภาคีทั้งรัฐและเอกชนดำเนินงานรับมือวิกฤติโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนในมิติต่างๆ ของโลกให้ขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วขึ้น
หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้ปรับทิศทางการดำเนินงานใหม่ในปี 2568 ให้เข้ากับบริบทสังคมและยุคสมัย โดยมี 4 กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานด้านโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนอย่างครบวงจร กลุ่มงานด้านธุรกิจเพื่อสังคม ภายใต้แบรนด์ดอยตุง สร้างอาชีพที่มั่นคงและธุรกิจที่ยั่งยืน กลุ่มงานด้านการแก้ไขปัญหาที่อาศัยธรรมชาติ (Nature-based Solutions) พัฒนาคุณภาพชีวิตควบคู่กับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และ กลุ่มงานด้านที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนองค์กร โดยใช้องค์ความรู้ความชำนาญและประสบการณ์จากโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย ที่มีมานานถึง 36 ปี และโครงการเชิงพื้นที่ในอดีตและปัจจุบัน เข้ามาดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในวงกว้างพร้อมขยายการพัฒนาไปใช้ทั้งในและต่างประเทศ
“เราปักธงตำราแม่ฟ้าหลวงฯ ให้ไปเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายระดับโลก ซึ่งไม่ได้ทำแต่เรื่องของความยั่งยืนในไทยเท่านั้นแต่เป็นการนำองค์ความรู้ที่มีไปเผยแพร่ทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อให้หลักการทรงงานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้แพร่หลาย โดยนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทั้งเวทีระหว่างประเทศและใช้กับองค์กรต่างๆ ให้เกิดความยั่งยืนในทุกมิติ”
อย่างไรก็ตามสำหรับ 4 กลุ่มงานมีการแบ่งบทบาทการทำงานที่ชัดเจนคือ
กลุ่มงานด้านโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนอย่างครบวงจรทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ต่างๆ ทั้งในประเทศ อาทิ โครงการพัฒนาดอยตุงฯ, โครงการร้อยใจรักษ์
อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่, โครงการผลิตภัณฑ์แปรรูปป่าเศรษฐกิจ จังหวัดน่าน, โครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมันและพืชน้ำมันอื่นๆ เป็นต้น ส่วนโครงการในต่างประเทศ อาทิ เมียนมา อัฟกานิสถาน อินโดนีเซีย เป็นต้น
กลุ่มงานด้านธุรกิจเพื่อสังคม ภายใต้แบรนด์ดอยตุง เน้นการสร้างอาชีพที่มั่นคงและธุรกิจที่ยั่งยืนใน 5 กลุ่มธุรกิจย่อย ได้แก่ อาหารแปรรูป กาแฟและแมคคาเดเมีย หัตถกรรม คาเฟ่ดอยตุง เกษตรและท่องเที่ยว
กลุ่มงานการแก้ไขปัญหาที่อาศัยธรรมชาติ (Nature-based Solutions) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตควบคู่ไปกับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติมาปรับใช้กับป่าชุมชนใน พ.ศ. 2563 ร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนริเริ่ม “โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ขึ้นทะเบียนเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) ภาคป่าไม้ ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) โดยผลจากการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2664 จนถึงปัจจุบัน ครอบคลุมพื้นที่ 258,186 ไร่ ร่วมกับป่าชุมชน 281 ชุมชน 11 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร อุทัยธานี กระบี่ ยโสธร อำนาจเจริญ น่าน และลำปาง ประชาชนเข้าร่วมกว่า 150,000 คน และได้รับความได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานกว่า 25 แห่ง ทั้งภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจในการพัฒนาโครงการร่วมกัน เพื่อให้คาร์บอนเครดิตเป็นกลไกให้ชุมชนดูแลป่าและดูแลตัวเองได้พร้อมๆ กัน รวมทั้งมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาคนว่างงาน และหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกันก็สามารถช่วยภาคเอกชนในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจได้ด้วย พร้อมยังช่วยลดอัตราการเกิดไฟป่าให้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ลดปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 จากไฟป่า
ขณะที่ กลุ่มงานด้านที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน ที่ถือว่าเป็นนิวเอส เคิร์ฟ (new S-Curve) ที่สำคัญของมูลนิธิฯ เพื่อขยายการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในวงกว้างยิ่งขึ้น
งานที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนถือว่าเป็นกลุ่มงานใหม่ที่เปิดตัวเมื่อปีที่ผ่านมา เพราะโลกทั้งโลกกำลังมองหาแนวทางว่าจะทำอย่างไรที่จะช่วยโลกนี้ได้ ขณะที่แม่ฟ้าหลวงฯ มีโซลูชันบางส่วนที่สามารถตอบโจทย์บางส่วนได้ถ้าธุรกิจเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ ผลกระทบเชิงบวกจะกว้างมากขึ้นเหมือนการพัฒนาโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ซึ่งเป็นโมเดลสำคัญ 100 ดอยตุง เราอยู่ในโลกที่ไม่มีเวลาแล้ว ดังนั้นวันนี้ต้องทำเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการให้เร็วที่สุด
ทั้งนี้ กลุ่มงานด้านที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน จะเป็นการนำองค์ความรู้ด้านความยั่งยืนมาแบ่งปันให้กับภาคเอกชนและภาคส่วนอื่น ๆ ให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม (last mile implementation solution) ผ่านการเป็นที่ปรึกษาเชิงปฏิบัติการ อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ผ่านการวางแผนและทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรและผลิตภัณฑ์ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดการขยะสู่บ่อฝังกลบเป็นศูนย์ การทำระบบ Extended Producer Responsibility (EPR) หรือ การเรียกคืนบรรจุภัณฑ์, ความหลากหลายทางชีวภาพและการแก้ไขปัญหาที่อาศัยธรรมชาติ ผ่านการประเมินและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ การปลูกป่าและฟื้นฟูป่า การจัดการน้ำ, การพัฒนาชุมชน ผ่านการทำความเข้าใจชุมชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การทำโครงการพัฒนาชุมชน เป็นต้น เพื่อสร้างรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงบรรเทาปัญหาของประเทศในด้านความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนเพิ่มความสามารถในการรับมือกับภัยธรรมชาติและความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อแก้ไขปัญหาและเกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน
ด้วยโครงสร้างการจัดการใหม่นี้ มูลนิธิฯเชื่อมั่นว่า จะสามารถขับเคลื่อนองค์กรต่อไปในบริบททางสังคม และสิ่งแวดล้อมปัจจุบันและ อนาคตได้อย่างยั่งยืน ด้วยจุดมุ่งหมายหลักคือการสร้างคนที่มีคุณภาพ ผ่านทุกโครงการและกิจกรรมเพื่อร่วมสร้างความยั่งยืนให้กับโลกใบนี้ต่อไป
รายงานความยั่งยืน 2566
เสวนาพิเศษระดับ CEO เรื่อง Climate Tipping Point, A Race Against Time เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของสภาพภูมิอากาศ
บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (KAsset) ได้เชิญ ม.ล. ดิศปนัดดา ดิศกุล เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ให้เป็น Keynote Speaker ในงาน “Exclusive Luncheon Roundtable: Climate Tipping Point, A Race Against Time” บรรยายให้กับ CEO และผู้บริหาร 20 ท่านจากองค์กรชั้นนำของประเทศที่มีบทบาทสำคัญทั้งในภาคการเงินและตลาดทุมร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะประเด็นการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ซึ่งมีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ขององค์กรให้เปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจโลกที่มีคาร์บอนต่ำ และมีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ
โดย ม.ล. ดิศปนัดดา ได้เล่าถึงประสบการณ์การจากการดำเนินงานของมูลนิธิฯ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 36 ปี ตามแนวทาง “ปลูกป่า ปลูกคน” ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งจากการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนได้นำไปสู่การฟื้นคืนพื้นที่ป่าและการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีคาร์บอนเครดิตเป็นผลพลอยได้เปรียบเสมือน passive income ให้กับชุมชน เป็นการสนับสนุนการเดินทางสู่เป้าหมาย Net Zero และ Nature Positive ของโลก
นอกจากนั้น ม.ล. ดิศปนัดดา ได้แบ่งปันเกี่ยวกับเทรนด์โลกที่ผู้นำภาคการลงทุนและภาคธุรกิจชั้นนำหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติซึ่งถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญขององค์กรและในอนาคตจะสามารถตีมูลค่าได้ รวมทั้งสามารถสร้างทั้งความเสี่ยงและโอกาสให้กับบริษัท และเป็นส่วนสำคัญที่จะสนับสนุนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของโลก สถาบันการลงทุนชั้นนำของโลก Lombard Odier พิสูจน์จากตัวอย่างโครงการ regenerative coffee (กาแฟเชิงฟื้นฟู) ว่า IRR สูงถึง 20%
ทั้งนี้ ม.ล. ดิศปนัดดา เน้นย้ำว่า โลกเราไม่สามารถรอได้อีกต่อไป ในปีนี้ในทุกเดือนอุณหภูมิโลกเราเกิน 1.5 องศาเซลเซียสแล้ว สำหรับทุกๆ 1 องศาเซลเซียสที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้น ชั้นบรรยากาศจะเก็บกักความชื้นเพิ่มขึ้นประมาณ 7% ส่งผลให้เกิดละอองน้ำฝนมากขึ้นและฝนตกหนักมากอย่างที่เห็นกันบ่อยยิ่งขึ้น หากประเทศไทยไม่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยบรรเทาและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะล้าหลังประเทศอื่นๆ ในการดึงดูดนักลงทุน
ในงานดังกล่าว นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ นางสาวภัทรลดา สง่าแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมแบ่งปันเกี่ยวกับการดำเนินงานของทั้งสองกลุ่มบริษัทในด้านความยั่งยืนและการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งแสดงให้เห็นตัวอย่างชัดเจนของภาคธุรกิจในการกำหนด
กลยุทธ์และดำเนินการด้านความยั่งยืนในระยะราวให้เป็นส่วนเดียวกับกลยุทธ์หลักของธุรกิจ และนำไปสู่การสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้น ผู้บริหารท่านอื่นๆ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์และเน้นย้ำการผนึกกำลังร่วมกันเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมสำหรับประเทศไทย
เทศกาล “สีสันแห่งดอยตุง ครั้งที่ 11” ชวนปล่อยใจ ปล่อยจอย ในดินดอยมหัศจรรย์
เชียงราย – หน้าหนาวนี้ เตรียมพบกับเทศกาลที่ทุกคนรอคอย! “สีสันแห่งดอยตุง ครั้งที่ 11” งานที่นำพาความสุข ความอบอุ่น และความประทับใจมาสู่ดอยสูง พร้อมเปิดตัวธีมใหม่สุดพิเศษ “WINTER WONDERDOI ปล่อยใจ ปล่อยจอย ในดินดอยมหัศจรรย์ DoiTung x NEWYEAR”

พบกับความพิเศษสุดเมื่อศิลปินป๊อปอาร์ตรุ่นใหม่อย่าง “NEWYEAR ปภากร ศรีกัลยกร” มาร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจมาจากสัตว์หายากบนดอยตุง อาทิ แมวดาว นางอาย ตัวตุ่น นกโพระดก เป็นต้นซึ่งสะท้อนถึงความหลากหลายทางชีวภาพที่เริ่มกลับมาอุดมสมบูรณ์ผลจาก การดูแลป่าดอยตุงมากว่า 36 ปีออกแบบเป็นตัวการ์ตูนคาแรคเตอร์สุดน่ารักกระจายอยู่ทั่วสวนดอกไม้บนดอย ให้ตามเช็คอินถ่ายรูปเก็บความประทับใจกลับบ้านที่จะทำให้ทุกการเดินทางของคุณเต็มไปด้วยสีสัน ความสุข และแรงบันดาลใจ
เทศกาลนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 ธันวาคม 2567 ถึง 26 มกราคม 2568 เปิดให้บริการทุก วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 18.00 น. ณ โครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย งานนี้เหมาะ สำหรับทุกคนในครอบครัว ทั้งสายรักธรรมชาติ สายแชะภาพ หรือสายชิม ไม่ว่าคุณจะเป็น นักท่องเที่ยว ที่ต้องการพักผ่อนท่ามกลางอากาศหนาว หรือนักสำรวจที่อยากสัมผัสความงามของวัฒนธรรม ชนเผ่า เทศกาลนี้มีสิ่งที่ตอบโจทย์ทุกคนรออยู่
นายประเสริฐ ตรงเจริญเกียรติ ประธานสายปฏิบัติงาน/ ธุรกิจเพื่อสังคม มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า
“รู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เห็นการเติบโตของเทศกาลสีสันแห่งดอยตุงในทุกๆ ปี โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 แล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่แห่งความสุขสำหรับนักท่องเที่ยว แต่ยังสะท้อนถึง ความมุ่งมั่นของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ในการพัฒนาชุมชนและฟื้นฟูธรรมชาติอย่างยั่งยืน ปีนี้เรานำเสนอธีม ‘WINTER WONDERDOI’ ที่สื่อถึงความมหัศจรรย์ของดอยตุง ผ่านศิลปะ วัฒนธรรม และธรรมชาติที่ผสมผสาน อย่างลงตัว”
“ดอยตุง คือเรื่องราวความสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนาภายใต้แนวคิด “คนอยู่ร่วมกับป่า” สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเล็งเห็นถึงศักยภาพของดอยตุงและฟื้นฟูพื้นที่จากการปลูกฝิ่น และการทำลายป่า ให้กลายเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ สร้างอาชีพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่ วันนี้ดอยตุง ไม่เพียงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว แต่ยังเป็นตัวอย่างของความสำเร็จในด้าน การอนุรักษ์ธรรมชาติ การพัฒนาชุมชน และการส่งเสริมวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ผมขอขอบคุณทีมงานทุกคน ชุมชนในพื้นที่ และพันธมิตรทุกฝ่ายที่ร่วมมือกันทำให้งานนี้เกิดขึ้น และผมเชื่อมั่นว่าเทศกาลนี้จะมอบความสุข ความประทับใจ และแรงบันดาลใจให้กับทุกท่านที่มาเยือน”
ไฮไลต์ของเทศกาลสีสันแห่งดอยตุง
งานในปีนี้พร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่ที่คุณไม่เคยสัมผัสมาก่อน
1. ธีม WINTER WONDERDOI: เมื่อธรรมชาติและศิลปะมาบรรจบกัน
ธีมปีนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก สัตว์ป่าหายากบนดอยตุง เช่น แมวดาว นางอาย ตัวตุ่นและนกโพระดก ศิลปินป๊อปอาร์ตรุ่นใหม่ NEWYEAR ปภากร ศรีกัลยกร ได้นำเรื่องราวเหล่านี้มาถ่ายทอดผ่านตัวละครและประติมากรรมสุดน่ารักที่กระจายอยู่ทั่วสวน เพื่อเดินตามรอย “มุมแชะภาพสุดว้าว” ที่จะทำให้คุณต้องหยิบกล้องมาถ่ายรูป:
สะพานนางอายสายรุ้ง : สะพานไม้ที่ทอดผ่านสวนดอกไม้ ท่ามกลางสระมรกต
บันไดสายรุ้ง : จุดชมวิวที่สร้างบรรยากาศให้ดูเหมือนคุณกำลังเดินเข้าสู่สายรุ้งแห่งดอยตุง
ประติมากรรมสัตว์ป่า : เช่น ตัวตุ่น นักพรวนดินแห่งขุนเขา หรือบอลลูนแมวดาวยักษ์
2. สวนดอกไม้ระบายดอย: ความงามที่ไม่เคยจางหาย
สวนดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดบนดอยตุงปีนี้ได้รับการตกแต่งใหม่ ด้วยดอกไม้เมืองหนาวหลากสีสัน ที่สร้างแรงบันดาลใจและเพิ่มความมีชีวิตชีวา จุดเด่นของสวนนี้คือ:
ทุ่งดอกไม้หลากสี : ที่ออกแบบเพื่อสร้างบรรยากาศฤดูหนาว
เขาวงกตลอยฟ้า : ชิ้นงานศิลปะที่ผสมผสานประเพณีและความเชื่อของชาวไทใหญ่
3. ถนนคนเดินดอยตุง: เมื่อวัฒนธรรมชนเผ่ามาเจอกับความร่วมสมัย หนึ่งในไฮไลต์ที่นักท่องเที่ยว ไม่ควรพลาดคือ
ถนนคนเดินดอยตุง ซึ่งรวบรวมสินค้า อาหาร และเครื่องดื่มจาก 6 ชนเผ่า ได้แก่ อาข่า ลาหู่ ไทลื้อ ไทใหญ่ ไทลัวะ และจีนยูนนาน อาทิ อาหารชนเผ่าและเมนูพิเศษ ข้าวอิโต หมูดำย่างจิ้มแจ่ว อกไก่ย่างซอสสะเบี๊ยะ ไอศกรีมดอยตุง 3 รสชาติ ที่สร้างจากแรงบันดาลใจของธรรมชาติ
งานหัตถกรรมชนเผ่า สินค้าแฮนด์เมด เช่น เสื้อผ้าทอมือ กระเป๋า และของที่ระลึก ที่ออกแบบอย่างร่วมสมัย
การแสดงและดนตรีพื้นเมือง : การเต้นรำจากชนเผ่า เช่น รำกระทุ้งไม้ไผ่ หรือการโชว์ดนตรี จากเครื่องดนตรีพื้นเมือง
กิจกรรมสร้างสรรค์ เวิร์กช็อปและเกมสนุกๆ
สำหรับสายรักกิจกรรม คุณสามารถสนุกไปกับ เวิร์กช็อปที่ออกแบบเพื่อทุกวัย การทำเครื่องประดับจากลูกปัด, DIY พวงกุญแจดอกไม้แห้งและ การเพ้นท์เซรามิก
นอกจากนี้ยังมีเกมและกิจกรรมที่ช่วยสร้างความตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ เช่น หมุนวงล้อ ตามหา Wonder of Doi Tung เพื่อลุ้นของที่ระลึกพิเศษ และ นิทรรศการผลกระทบของภาวะโลกร้อน พร้อมกิจกรรมคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจก
เทศกาลสีสันแห่งดอยตุงยังคงรักษาความมุ่งมั่นในการสร้างงานปลอดคาร์บอน (Carbon Neutral Event) โดยลดการใช้พลาสติก และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นิทรรศการ “Wonder to be Green” ยังเชิญชวนผู้เข้าร่วมเขียน “คำสัญญากับอนาคต” เพื่อบอกเล่าถึงสิ่งที่เราสามารถทำเพื่อช่วยลด โลกร้อน
ข้อมูลสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยว
เวลาเปิด-ปิด : วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00-18.00 น.
ค่าบัตรเข้าชม:
- ผู้ใหญ่: 90 บาท
- ส่วนลดพิเศษ 50%: สำหรับนักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ คนพิการ และนักบวช
- เด็กสูงต่ำกว่า 120 ซม.: เข้าชมฟรี
จุดจำหน่ายบัตร:
- ทางเข้าสวนแม่ฟ้าหลวง
- จุดบริการใกล้สะพานสายเก่า
- บริเวณทางเข้าสวนแม่ฟ้าหลวง
อย่าพลาดเทศกาลที่เปี่ยมไปด้วยความสุขและสีสัน “สีสันแห่งดอยตุง ครั้งที่ 11” มากกว่าเทศกาล เพราะคือการเดินทางที่จะพาคุณไปสัมผัสความงามของธรรมชาติ วัฒนธรรม และการสร้างสรรค์ที่ยั่งยืน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความมหัศจรรย์นี้ได้ที่ ดอยตุง จังหวัดเชียงราย เตรียมตัวออกเดินทาง แล้วมาสนุกกัน!
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- Facebook : DoiTung Club
- Instagram : Doitung.official
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ร่วมแบ่งปันบทสรุปจากงานประชุม COP29
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้มีโอกาสส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ หรือการประชุมโลกร้อน ‘COP29’ ที่ปีนี้มาในธีม Finance จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-22 พฤศจิกายน 2024 ที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน และได้นำบทสรุปที่น่าสนใจมาฝาก ดังนี้ค่ะ
#Article6.4 เรื่องมาตรฐานของคาร์บอนเครดิต ผ่านที่ประชุมเลยตั้งแต่วันแรก มาตรฐานนี้ช่วยแก้ไขปัญหาการฟอกเขียวหรือดราม่าของบางเครดิตที่ไม่ได้มาตรฐาน (Voluntary Credit) และทำให้ซื้อขายกันได้ระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ราคาคาร์บอนเครดิตที่เคยตกลง ดีดตัวกลับขึ้นมาอีก สายคัดค้านบอกว่าเนื้อหาในข้อตกลงบางประโยคยังอ่อนเกินไป และเป็นช่องว่าง ในขณะที่เวทีเจรจาเองก็ตั้งใจจะเปิดหลวมๆ ไว้หน่อย เพื่อให้ตั้งบนวิทยาศาสตร์และเครื่องมือที่อัพเดทสุดในขณะนั้นได้
#เงินทุน มีข้อตกลงกันว่าประเทศพัฒนาจะช่วยลงเงินปีละ 3 แสนล้าน USD ต่อปี โดยตอนแรกจะได้ที่ 2.5 แสนล้าน แต่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาต้องการมากกว่านี้ อ้างอิงจากการคำนวณและรายงานต่างๆ บอกว่า GAP อยู่ที่ “1.3 #ล้านล้าน” ไม่ใช่ #แสนล้าน
Loss & Damage Fund คือกองทุนการสูญเสียและความเสียหายที่ตั้งมาตั้งแต่ COP27 เพิ่งจะเริ่มดำเนินการ ที่มาคือเงินก้อนนี้ปกติจะใช้สำหรับการลดและปรับตัว (Mitigation and Adaptation) เลยมีกองนี้ขึ้นมาอีกกองสำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบไปแล้วเอาไปเยียวยา
อื่นๆ เป็นการโชว์เคสว่าใครทำอะไรอยู่ เทคโนโลยีใหม่ๆ มีอะไรบ้าง
#COP30 ปีหน้าจัดที่บราซิล ในโอกาสครบรอบ 30 ปี โดยแต่ละประเทศต้องส่ง #NDC หรือแผนประเทศใหม่ แล้วมาดูกันว่า Net Zero Plan ของเราจะขยับมาเร็วขึ้นไหม
เครดิต : ภาพและข้อมูล โดย ดร.สุภัชญา เตชะชูเชิด ผู้จัดการสิ่งแวดล้อมอาวุโส มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ
เทศกาลสีสันแห่งดอยตุง ครั้งที่ 11 ในธีม “Winter WonderDoi ปล่อยใจปล่อยจอย ในดินดอยมหัศจรรย์ DoiTung x Newyear”

เชียงราย – หน้าหนาวนี้ เตรียมพบกับเทศกาลที่ทุกคนรอคอย! “สีสันแห่งดอยตุง ครั้งที่ 11” งานที่นำพาความสุข ความอบอุ่น และความประทับใจมาสู่ดอยสูง พร้อมเปิดตัวธีมใหม่สุดพิเศษ “WINTER WONDERDOI ปล่อยใจ ปล่อยจอย ในดินดอยมหัศจรรย์DoiTung x NEWYEAR”
พบกับความพิเศษสุดเมื่อศิลปินป๊อปอาร์ตรุ่นใหม่อย่าง “NEWYEAR ปภากร ศรีกัลยกร” มาร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจมาจากสัตว์หายากบนดอยตุง อาทิ แมวดาว นางอาย ตัวตุ่น นกโพระดก เป็นต้นซึ่งสะท้อนถึงความหลากหลายทางชีวภาพที่เริ่มกลับมาอุดมสมบูรณ์ผลจาก การดูแลป่าดอยตุงมากว่า 36 ปีออกแบบเป็นตัวการ์ตูนคาแรคเตอร์สุดน่ารักกระจายอยู่ทั่วสวนดอกไม้บนดอย ให้ตามเช็คอินถ่ายรูปเก็บความประทับใจกลับบ้านที่จะทำให้ทุกการเดินทางของคุณเต็มไปด้วยสีสัน ความสุข และแรงบันดาลใจ
เทศกาลนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 ธันวาคม 2567 ถึง 26 มกราคม 2568 เปิดให้บริการทุก วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 18.00 น. ณ โครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย งานนี้เหมาะ สำหรับทุกคนในครอบครัว ทั้งสายรักธรรมชาติ สายแชะภาพ หรือสายชิม ไม่ว่าคุณจะเป็น นักท่องเที่ยว ที่ต้องการพักผ่อนท่ามกลางอากาศหนาว หรือนักสำรวจที่อยากสัมผัสความงามของวัฒนธรรม ชนเผ่า เทศกาลนี้มีสิ่งที่ตอบโจทย์ทุกคนรออยู่
นายประเสริฐ ตรงเจริญเกียรติ ประธานสายปฏิบัติงาน/ ธุรกิจเพื่อสังคม มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “รู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เห็นการเติบโตของเทศกาลสีสันแห่งดอยตุงในทุกๆ ปี โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 แล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่แห่งความสุขสำหรับนักท่องเที่ยว แต่ยังสะท้อนถึง ความมุ่งมั่นของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ในการพัฒนาชุมชนและฟื้นฟูธรรมชาติอย่างยั่งยืน ปีนี้เรานำเสนอธีม ‘WINTER WONDERDOI’ ที่สื่อถึงความมหัศจรรย์ของดอยตุง ผ่านศิลปะ วัฒนธรรม และธรรมชาติที่ผสมผสาน อย่างลงตัว”
“ดอยตุง คือเรื่องราวความสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนาภายใต้แนวคิด “คนอยู่ร่วมกับป่า” สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเล็งเห็นถึงศักยภาพของดอยตุงและฟื้นฟูพื้นที่จากการปลูกฝิ่น และการทำลายป่า ให้กลายเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ สร้างอาชีพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่ วันนี้ดอยตุง ไม่เพียงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว แต่ยังเป็นตัวอย่างของความสำเร็จในด้าน การอนุรักษ์ธรรมชาติ การพัฒนาชุมชน และการส่งเสริมวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ผมขอขอบคุณทีมงานทุกคน ชุมชนในพื้นที่ และพันธมิตรทุกฝ่ายที่ร่วมมือกันทำให้งานนี้เกิดขึ้น และผมเชื่อมั่นว่าเทศกาลนี้จะมอบความสุข ความประทับใจ และแรงบันดาลใจให้กับทุกท่านที่มาเยือน”
ไฮไลต์ของเทศกาลสีสันแห่งดอยตุง
งานในปีนี้พร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่ที่คุณไม่เคยสัมผัสมาก่อน!
1. ธีม WINTER WONDERDOI: เมื่อธรรมชาติและศิลปะมาบรรจบกัน
ธีมปีนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก สัตว์ป่าหายากบนดอยตุง เช่น แมวดาว นางอาย ตัวตุ่นและนกโพระดก ศิลปินป๊อปอาร์ตรุ่นใหม่ NEWYEAR ปภากร ศรีกัลยกร ได้นำเรื่องราวเหล่านี้มาถ่ายทอดผ่านตัวละครและประติมากรรมสุดน่ารักที่กระจายอยู่ทั่วสวน เพื่อเดินตามรอย “มุมแชะภาพสุดว้าว” ที่จะทำให้คุณต้องหยิบกล้องมาถ่ายรูป:
สะพานนางอายสายรุ้ง : สะพานไม้ที่ทอดผ่านสวนดอกไม้ ท่ามกลางสระมรกต
บันไดสายรุ้ง : จุดชมวิวที่สร้างบรรยากาศให้ดูเหมือนคุณกำลังเดินเข้าสู่สายรุ้งแห่งดอยตุง
ประติมากรรมสัตว์ป่า : เช่น ตัวตุ่น นักพรวนดินแห่งขุนเขา หรือบอลลูนแมวดาวยักษ์
2. สวนดอกไม้ระบายดอย: ความงามที่ไม่เคยจางหาย
สวนดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดบนดอยตุงปีนี้ได้รับการตกแต่งใหม่ ด้วยดอกไม้เมืองหนาวหลากสีสัน ที่สร้างแรงบันดาลใจและเพิ่มความมีชีวิตชีวา จุดเด่นของสวนนี้คือ:
ทุ่งดอกไม้หลากสี : ที่ออกแบบเพื่อสร้างบรรยากาศฤดูหนาว
เขาวงกตลอยฟ้า : ชิ้นงานศิลปะที่ผสมผสานประเพณีและความเชื่อของชาวไทใหญ่
3. ถนนคนเดินดอยตุง: เมื่อวัฒนธรรมชนเผ่ามาเจอกับความร่วมสมัย หนึ่งในไฮไลต์ที่นักท่องเที่ยว ไม่ควรพลาดคือ
ถนนคนเดินดอยตุง ซึ่งรวบรวมสินค้า อาหาร และเครื่องดื่มจาก 6 ชนเผ่า ได้แก่ อาข่า ลาหู่ ไทลื้อ ไทใหญ่ ไทลัวะ และจีนยูนนาน อาทิ อาหารชนเผ่าและเมนูพิเศษ ข้าวอิโต หมูดำย่างจิ้มแจ่ว อกไก่ย่างซอสสะเบี๊ยะ ไอศกรีมดอยตุง 3 รสชาติ ที่สร้างจากแรงบันดาลใจของธรรมชาติ
งานหัตถกรรมชนเผ่า สินค้าแฮนด์เมด เช่น เสื้อผ้าทอมือ กระเป๋า และของที่ระลึก ที่ออกแบบอย่างร่วมสมัย
การแสดงและดนตรีพื้นเมือง : การเต้นรำจากชนเผ่า เช่น รำกระทุ้งไม้ไผ่ หรือการโชว์ดนตรี จากเครื่องดนตรีพื้นเมือง
4. กิจกรรมสร้างสรรค์ เวิร์กช็อปและเกมสนุกๆ
สำหรับสายรักกิจกรรม คุณสามารถสนุกไปกับ เวิร์กช็อปที่ออกแบบเพื่อทุกวัย การทำเครื่องประดับจากลูกปัด, DIY พวงกุญแจดอกไม้แห้งและ การเพ้นท์เซรามิก
นอกจากนี้ยังมีเกมและกิจกรรมที่ช่วยสร้างความตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ เช่น หมุนวงล้อ ตามหา Wonder of Doi Tung เพื่อลุ้นของที่ระลึกพิเศษ และ นิทรรศการผลกระทบของภาวะโลกร้อน พร้อมกิจกรรมคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจก
เทศกาลสีสันแห่งดอยตุงยังคงรักษาความมุ่งมั่นใปปปนการสร้างงานปลอดคาร์บอน (Carbon Neutral Event) โดยลดการใช้พลาสติก และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นิทรรศการ “Wonder to be Green” ยังเชิญชวนผู้เข้าร่วมเขียน “คำสัญญากับอนาคต” เพื่อบอกเล่าถึงสิ่งที่เราสามารถทำเพื่อช่วยลด โลกร้อน
อย่าพลาดเทศกาลที่เปี่ยมไปด้วยความสุขและสีสัน “สีสันแห่งดอยตุง ครั้งที่ 11” มากกว่าเทศกาล เพราะคือการเดินทางที่จะพาคุณไปสัมผัสความงามของธรรมชาติ วัฒนธรรม และการสร้างสรรค์ที่ยั่งยืน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความมหัศจรรย์นี้ได้ที่ ดอยตุง จังหวัดเชียงราย เตรียมตัวออกเดินทาง แล้วมาสนุกกัน!
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ร่วมกับ Presidential Agency for International Cooperation of Colombia (APC – Colombia) จัดกิจกรรมคู่ขนาน ที่การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 16 หรือ CBD COP16
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ร่วมกับ Presidential Agency for International Cooperation of Colombia (APC – Colombia) (สำนักงานประธานาธิบดี ประเทศโคลัมเบีย) จัดกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) ที่การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 16 หรือ CBD COP16 เกี่ยวกับนวัตกรรมในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและสันติสุข ณ เมืองซานเตียโก เด กาลิ สาธารณรัฐโคลอมเบีย
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้เล่าเรื่องแนวทางการพัฒนาการของโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพะราชดำริ จังหวัดเชียงราย ที่ดำเนินงานมากว่า 36 ปี ที่ยึดแนวทางการดำเนินงานตาม “ตำราแม่ฟ้าหลวง” จนเกิดการเปลี่ยนแปลงจากปัญหาความยากจน การปลูกฝิ่น สู่อาชีพที่สุจริต และความท้าทายใหม่ที่ต้องเพิ่มมิติการอนุรักษ์ธรรมชาติเข้าไปมากกว่าเก่า การนำบทเรียนมาช่วยเร่งให้เกิดผลกระทบ (impact) ในวงกว้างและเร็วกว่าเดิม และการขยายผลคาร์บอนเครดิตภายใต้โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในป่าชุมชนกว่า 11 จังหวัด มีชาวบ้านเข้าร่วมกว่า 150,000 คน จาก 281 ชุมชน
โดยมีผู้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เป็นผู้แทนจาก Terrasos ที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก (World Bank) ในการทำเครดิตความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity credits หรือ bio-credits) รายแรกของโลกร่วมงานด้วย
ผู้แทนจาก มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ คุณสุภัชญา เตชะชูเชิด ผู้จัดการสิ่งแวดล้อมอาวุโส ได้เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในหัวข้อ Driving Green Finance and Nature
ผู้แทนจาก มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ คุณสุภัชญา เตชะชูเชิด ผู้จัดการสิ่งแวดล้อมอาวุโส ได้เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในหัวข้อ Driving Green Finance and Nature-Related Disclosures: Global Insights and Regulatory Leadership ร่วมกับ The United Nations Development Programme (UNDP) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ของสาธารณรัฐซิมบับเว และธนาคารกลางบอตสวานา เกี่ยวกับกลไกทางการเงินที่สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
โดย คุณสุภัชญา ได้เล่าว่า มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เป็นหนึ่งในองค์กร early adopter ใน The Taskforce on Nature-related Financial Disclosures (TNFD) ที่เป็นแนวคิดระดับนานาชาติโดยมีเป้าหมายในการพัฒนากรอบการทำงานเพื่อให้องค์กรต่างๆ เปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ “ธรรมชาติ” ทั้งการพึ่งพาและผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนวิธีจัดการกับปัญหาขององค์กรนั้นๆ