สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม UNDP Thailand The Biodiversity Finance Initiative ได้เชิญตัวแทนมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ร่วมเสวนาช่วง High Level Panel side event at CBD COP 16 เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในป่าชุมชน

Thailand is excited to participate in a high-level side event at CBD COP 16 on October 28, 2024, titled “The Nature Investment Facility: Mobilizing Resources to Reduce the Biodiversity Funding Gap and Implement the GBF.” with Camilla Nordheim-Larsen, Chief of Private Sector Partnerships of UNESCO | Marcos Neto, Assistant Administrator and Director, Bureau for Policy and Programme Services of UNDP | Pradeep Kurukulasuriya, Executive Secretary of UNCDF | Onno van den Heuvel, Global Manager of UNDP The Biodiversity Finance Initiative – BIOFIN | Berchmans Hatungimana, General Director of Burundian Office for the Protection of the Environment of Burundi | Rogelio Torres, Leader of Arhuaco Communities and partner of ASARHUACO | Khun Smitthi Harueanphuech, Director of Special Projects of มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ Mae Fah Luang Foundation under Royal Patronage

The Mae Fah Luang Foundation represented 127 indigenous people and local communities across 7 provinces to share real stories about community forest management and financial solutions.

Key highlights include:

1) The Mae Fah Luang Foundation has assisted communities in exploring carbon credits from forest protection, registering approximately 50,000 hectares of community forest, making it the largest nature-based carbon credit project in Thailand. This initiative fosters a participatory approach and builds beneficial relationships with private sector partners.

2) Addressing gaps in the enabling environment for carbon credit schemes will require support from local communities.

3) Thailand is committed to implementing biodiversity finance at the local level, for local people, and with local communities.

UNDP BIOFIN ประเทศไทยขอขอบคุณ คุณสมิทธิ หาเรือนพืชน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนการปฏิบัติงานพิเศษ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ร่วมเสวนาในช่วง High Level Panel side event at CBD COP 16 เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งดำเนินการร่วมกับชุมชน 127 ป่าชุมชนใน 7 จังหวัดทั่วประเทศไทย

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ รับรางวัลระดับโลก Res Publica ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม-มนุษยชาติอย่างสมดุล ที่ประเทศอิตาลี พร้อมขยายผลครอบคลุมการแก้ไขปัญหาภาวะโลกรวน ที่ ประเทศอิตาลี

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับรางวัล Res Publica ในฐานะองค์กรประสบความสำเร็จในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและมนุษยชาติอย่างสมดุล ที่ประเทศอิตาลี

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2567 ที่เมืองมอนดาวี ประเทศอิตาลี มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับรางวัล Res Publica ซึ่งเป็นรางวัลจากภาคประชาชน ในฐานะที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและมนุษยชาติอย่างสมดุล

สำหรับรางวัล Res Publica เป็นกิจกรรมหนึ่งของสมาคม The Good Government and Civic Sense Association ซึ่งเป็นสมาคมนานาชาติตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี มีขึ้นเพื่อยกย่องและส่งเสริมองค์กร หรือบุคคลที่มีบทบาทและผลงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยในปีนี้จัดขึ้นในเมือง มอนดาวี อิตาลี วันที่ 26 ตุลาคม 2567

การมอบรางวัล Res Publica มีขึ้นตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งในอดีตมีบุคคลที่มีผลงานและบทบาทสำคัญได้รับรางวัล เช่น ดร.แอนโทนี ฟอว์ซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้โรคติดต่อสหรัฐอเมริกาซึ่งมีผลงานโดดเด่นในการต่อสู้กับโควิด-19 และนายเจอราด ไรย์ ผู้อำนวยการภาคีสื่อมวลชนสืบสวนสอบสวนระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลงานเปิดโปงคดีฉ้อโกงทางการเงินระดับโลกอย่างต่อเนื่อง

สำหรับในปีนี้ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับรางวัลในความสำเร็จทางการพัฒนาอย่างสมดุลสภาพแวดล้อมและสังคม ที่นอกจากจะฟื้นฟูป่าบนดอยตุงสู่ความสมบูรณ์แล้ว ยังสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ชุมชน และทำให้การปลูกฝิ่นหมดไปจากประเทศไทย อีกทั้งยังขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาภาวะโลกรวน

หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ กล่าวว่า รางวัลสำคัญที่ได้รับนี้เป็นผลของความร่วมมือกันของภาครัฐ เอกชนและชุมชน อีกทั้งยังเป็นผลงานจากความทุ่มเทของพนักงานและเจ้าหน้าที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในทุกยุคทุกสมัย นับว่าเป็นของขวัญที่น่าภูมิใจในวาระครบ 36 ปีของโครงการพัฒนาดอยตุง

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุงฯ เมื่อปี 2531 เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าและพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวดอยตุงทั้ง 29 หมู่บ้าน และพระราชปณิธานนั้นก็ยังถูกสานต่อมาอย่างจริงจัง จนวันนี้ โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เป็นตัวอย่างที่องค์การสหประชาชาติ และองค์กรระดับนานาชาติต่างยอมรับ เพราะผลงานที่เราทำให้เห็นจนเป็นประจักษ์และสามารถขยายผลขนเกิดความสำเร็จอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ

นิทรรศการ “คิดถึง…สมเด็จย่า ครั้งที่ 27 : ตชด. รฦก” ย้อนรำลึกถึงพระเมตตา สืบสานพระราชปณิธาน ที่มีต่องาน ตชด. ส่งต่อแรงบันดาลใจจากพระราชกรณียกิจ ตั้งแต่วันนี้ – 20 ตุลาคม 2567 ณ เจริญนคร ฮอลล์ ชั้น M ไอคอนสยาม

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ “สมเด็จย่า” ในวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี  บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือสยามพิวรรธน์กรุ๊ป ร่วมกับ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย, บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด, และบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ “สมเด็จย่า” ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย ร่วมกันจัดนิทรรศการ “คิดถึง…สมเด็จย่า ครั้งที่ 27” ตั้งแต่วันนี้ – 20 ตุลาคม 2567  โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรงาน (เป็นการส่วนพระองค์)ในวันพุธที่ 16 ตุลาคม 2567 ณ เจริญนคร ฮอลล์ ชั้น M ไอคอนสยาม

ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ

ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ประธานคณะกรรมการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ กล่าวว่า “นิทรรศการ คิดถึง…สมเด็จย่า จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงมีต่อประเทศชาติและพสกนิกรชาวไทย โดยปีนี้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 27 ภายใต้ชื่อ ‘ตชด. รฦก’ เพื่อถ่ายทอดพระราชกรณียกิจและบอกเล่าถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่าที่มีต่อตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งได้ถวายงานด้านต่างๆ แด่พระองค์ท่าน โดยเป็นที่ทราบกันดีว่าสมเด็จย่าทรงห่วงใยตำรวจตระเวนชายแดนที่ตั้งฐานปฏิบัติการตามตะเข็บชายแดน ทั้งยังทรงใส่พระราชหฤหัยไปถึงประชาชนในพื้นที่ห่างไกล จนเกิดเป็นโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนมากมาย การนำเสนอพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ ตชด. ผ่านนิทรรศการ คิดถึง…สมเด็จย่า ครั้งที่ 27 นี้ จึงคาดหวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ประชาชนทั่วไประลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและร่วมกันสานต่อพระราชปณิธานของพระองค์ให้ก่อเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทยสืบต่อไป”

ด้าน พล.ต.อ. สมศักดิ์ บุบผาสุวรรณ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และอดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ผู้เคยถวายงานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เผยถึงนิทรรศการครั้งนี้ว่า “นับเป็นเวลาหลายสิบปีที่สมเด็จย่าทรงห่วงใย เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยือนตำรวจตระเวนชายแดนถึงถิ่นฐาน รวมถึงราษฎรทั่วประเทศ พร้อมพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้ภาพพระองค์ทรงชุดพลร่มตำรวจชายแดนยังคงประทับอยู่ในใจของ ตชด. ทุกนายมาตลอดจนถึงทุกวันนี้ กล่าวได้ว่าพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่าที่มีต่อตำรวจตระเวนชายแดนนั้นมีมากมายอเนกอนันต์ การจัดนิทรรศการคิดถึง…สมเด็จย่า ครั้งที่ 27 ภายใต้ชื่อ ‘ตชด. รฦก’  จึงมีความหมายอย่างมากต่อ ตชด.ทุกนาย อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่พระราชกรณียกิจให้คนรุ่นใหม่และประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงพระเมตตาและน้ำพระราชหฤทัยของพระองค์ในมุมที่ผู้คนทั่วไปอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน”

ทั้งนี้นิทรรศการ “คิดถึงสมเด็จย่า ครั้งที่ 27” ภายใต้ชื่องาน ตชด. รฦก จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่พระเมตตาและถ่ายทอดพระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงมีต่อตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ตลอดจนสืบสานพระราชปณิธานและส่งต่อแรงบันดาลใจที่ทรงห่วงใย ใส่พระราชหฤทัยในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพสกนิกร โดยแบ่งเนื้อหานิทรรศการออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  • ส่วนที่ 1 “กำเนิด ตชด.” นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการก่อตั้งหน่วยงาน “ตำรวจตระเวนชายแดน” (ตชด.) ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยและสนองงานพัฒนาด้านต่างๆ แด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพันธกิจสำคัญในปัจจุบัน ในการถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ บังคับใช้กฎหมายและอำนวยความยุติธรรมทางอาญา และรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงของราชอาณาจักร
  • ส่วนที่ 2 “ให้มีอานามัยดี การศึกษาดี” เผยแพร่พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้านการสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  ซึ่งนอกจากพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้าง และพระราชทานนามโรงเรียนหลายแห่งแล้ว ยังทรงชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์ พระสหาย และเอกชนให้มาช่วยสนับสนุนกิจการของโรงเรียน ทั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยม ตชด. ในหลายพื้นที่ ตลอดจนทรงเอาพระทัยใส่ มีพระเมตตาต่อผู้ปฏิบัติงาน และพระราชปณิธานยังคงสืบสานมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนถึงปัจจุบัน
  • ส่วนที่ 3 “ความสงสารเพื่อนมนุษย์” ถ่ายทอดพระราชกรณียกิจด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพสกนิกร โดยเฉพาะผู้ยากไร้ และด้อยโอกาส นำมาซึ่งการก่อตั้งหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) มูลนิธิขาเทียม และพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุขอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งได้รับการสานต่อจากพระบรมวงศ์ เพื่อสร้างประโยชน์และเป็นที่พึ่งของพสกนิกรตลอดมา

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ แบ่งปันแนวทางการพัฒนาทรัพยากรน้ำของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ในงาน “TCP Sustainability Forum 2024: Water Resilience In a Changing Climate”

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ แบ่งปันแนวทางการพัฒนาทรัพยากรน้ำของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ในงาน “TCP Sustainability Forum 2024: Water Resilience In a Changing Climate” ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มธุรกิจ TCP

คุณธานิษฎ์ กองแก้ว ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ร่วมเป็นวิทยากรในวงเสวนา “อนาคตและทางออกของการปรับรับมือการเปลี่ยนแปลงด้านน้ำและสภาพภูมิอากาศ” เล่าถึงงานพัฒนาชุมชนของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง โดยเริ่มจากพัฒนาทรัพยากรน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรของชุมชน แล้วจึงส่งเสริมอาชีพ ทั้งด้านการเกษตรและด้านอื่น ๆ ร่วมไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไปพร้อมกัน

การพัฒนาทรัพยากรน้ำและป่าของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ส่งผลต่อความยั่งยืนในพื้นที่โครงการพัฒนาอย่างไม่สามารถแยกจากกันได้ เมื่อมีน้ำ ชุมชนจึงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกที่น้อยลง และมีพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูให้กลับมาเป็นป่า เมื่อมีป่า จึงมีน้ำหล่อเลี้ยงชุมชนทั้งชุมชนต้นน้ำ ตลอดไปถึงชุมชนปลายน้ำ

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ นำประสบการณ์กว่า 30 ปีในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติมาริเริ่มบริการใหม่ๆ อาทิ

  • การบริหารจัดการข้อมูลน้ำเพื่อเตรียมความพร้อมให้ชุมชนรับมือกับความเปลี่ยนแปลงจากความผันผวนของน้ำและสภาพภูมิอากาศ
  • การประยุกต์ใช้แนวทางการแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solution) เพื่อจัดการประเด็นพึ่งพาและการสร้างผลกระทบต่อธรรมชาติ รวมไปถึงการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างความยั่งยืนแก่องค์กรและชุมชน

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ พร้อมร่วมมือกับภาคีทุกภาคส่วน และลงมือทำไปด้วยกัน เพื่อขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงในสังคมในวงกว้างอย่างยั่งยืน

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ คว้ารางวัล SX Shaper Award 2024

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับรางวัล SX Shaper Award 2024 จากคณะกรรมการจัดงาน Sustainability Expo 2024 มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพคนเป็นศูนย์กลาง (Human-centric) จนกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม

กว่า 50 ปี ที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อสืบสานและต่อยอดพระราชปณิธานตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ‘ช่วยให้เขา ช่วยตัวเขาเอง’ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพคนเป็นศูนย์กลาง (Human-centric) จนกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม ทำให้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับรางวัล SX Shaper Award 2024 จากคณะกรรมการจัดงาน Sustainability Expo 2024

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้ดำเนินโครงการสำคัญๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน)  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย, โครงการร้อยใจรักษ์ จังหวัดเชียงใหม่, โครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมัน และพืชน้ำมันอื่นๆ จังหวัดเชียงราย, โครงการแปรรูปป่าเศรษฐกิจน่าน จังหวัดน่าน, โครงการพัฒนาทางเลือกเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนไทย-เมียนมา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย, และโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เชื่อว่า ‘คน’ คือต้นเหตุและทางออกของปัญหาในการยกระดับชีวิตของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงต้องเริ่มจากการพัฒนาคน เพราะ “ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี แต่ที่เขาไม่ดี เพราะขาดโอกาสและทางเลือก”

โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2531 เพื่อเป็นการให้แนวทางการพัฒนาตามตำราแม่ฟ้าหลวงคือการ “ปลูกป่า ปลูกคน”  โดยตลอดระยะเวลา 36 ปีที่ผ่านา มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ฟื้นฟูป่าได้ประมาณ 90,000 ไร่ สร้างอาชีพที่ดีแก่ประชาชนกว่าหนึ่งหมื่นคน

นอกจากนี้ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ยังร่วมกับภาคีทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ได้ดำเนินโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มาตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปีนี้ มีความร่วมมือในป่าชุมชนรวม 129 แห่งใน 9 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 194,850 ไร่ ผลิตคาร์บอนเครดิตได้ 500,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และสร้างประโยชน์แก่ชุมชนในป่า 25,082 ครัวเรือน  ซึ่งมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ตั้งเป้าหมายผลิตคาร์บอนเครดิต 1 ล้านตันภายในปี 2570

อีกความสำเร็จของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ คือ การจัดการขยะ โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เริ่มลงมือจัดการขยะจากต้นทางอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2555 จนกระทั่งปลายปี 2561 ประสบความสำเร็จในการทำให้ขยะถูกส่งไปบ่อฝังกลบเป็นศูนย์ และยังขยายแนวคิดนี้ไปยัง 29 หมู่บ้านใน อ.แม่ฟ้าหลวง ซึ่งปัจจุบัน มี 24 หมู่ล้านที่สามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธี ดอยตุงไม่มีของเหลือทิ้ง เพราะที่นี่ดำเนินธุรกิจแบบ Zero Waste และตั้งใจสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรกับโลก โดยทำให้ทุกขั้นตอนการผลิตไม่สร้างขยะด้วยการรีไซเคิล ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำพลาสติก กากกาแฟ เปลือกแมคคาเดเมีย เศษผ้าจากกาทางทอผ้า น้ำที่ใช้ในการย้อมก็ยังสามารถบำบัดได้ และหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ พร้อมทั้งพัฒนาการออกแบบดีไซน์เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หลักอีกด้วย ทำให้โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรวงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับมาตรฐาน G Green Production ประเภทเซรามิก ระดับดีเยี่ยม และประเภทสิ่งทอ ระดับดีเยี่ยม ปี 2562 จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ส่วนโครงการการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน (Sustainable Alternative Livelihood Development – SALD)เป็นแนวทางการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากพระปรัชญาและพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการช่วยเหลือพัฒนาผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม โดยเน้นการพัฒนาคนอย่างมีบูรณาการ เป็นขั้นเป็นตอน ตามช่วงเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ และนำวิธีคิดและวิธีบริหารจัดการเชิงธุรกิจมาปรับใช้ เช่น ผลิตของที่ตลาดต้องการ มุ่งสร้างประโยชน์สูงสุดจากต้นทุนที่ต่ำที่สุด ด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน อีกทั้งศึกษาความเป็นไปได้ก่อนทำโครงการเพื่อลดความเสี่ยง หรือวัดผลเพื่อปรับปรุงการทำงานอยู่ตลอดเวลา

“เพราะความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน” ที่จะมาร่วมกันเปลี่ยนโลกใบนี้ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนผ่านกิจกรรมมากมาย พร้อมแลกเปลี่ยนแนวคิด และไอเดียสุดเจ๋งด้านความยั่งยืนกับวิทยากรชื่อดัง ศิลปิน และเหล่าไอดอลจากทุกแวดวง ตื่นเต้นไปกับสุดยอดนวัตกรรมกอบกู้โลกให้คุณได้เรียนรู้ และพร้อมปรับตัว เพื่อความอยู่รอดในวิถีชีวิตประจำวันยุคโลกเดือดได้อย่างมีความสมดุล ในงาน Sustainability Expo (SX2024) ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 6 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC)

ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมของ SX ได้ทาง Facebook Page : Sustainability Expo, www.sustainabilityexpo.com และแอดไลน์ @sxofficial  เตรียมพบกับมุมมองดีๆ และต้นแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างยั่งยืน ตลอดจนร่วมกิจกรรมมากมายเพื่อโลก ด้วยกันที่ Sustainability Expo 2024: Good Balance, Better World #good balancebetter world

ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/3914557/

ความยั่งยืนคืออะไร ?

ในขณะที่กลุ่มธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ตั้งเป้าหมายเรื่องความยั่งยืน เราอยากชวนทุกคนมาสำรวจและตั้งคำถามกับความยั่งยืน ผ่านกิจกรรมหลากหลายภายในงาน SUSTAINABILITY EXPO 2024 มหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

ถอดบทเรียนการทำงานด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและชุมชนกว่า 30 ปี ของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ

ร่วมเรียนรู้ปัญหาและสำรวจตัวเองได้ภายในบูธของเรา

.

พบกันที่ บูธ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ

Hall 3 ชั้น G โซน SEP INSPIRATION

ในวันที่ 27 ก.ย – 6 ต.ค 67

เวลา 10.00 – 20.00 น.

ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ พร้อมภาคี ชี้การปลูกป่า ปลูกคน เป็นทางออกของไทยที่จะบรรลุเป้าหมายตามข้อตกลงปารีส

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ พร้อมภาคี ชี้ทางรอดจากหายนะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะต้องใช้กระบวนการธรรมชาติบำบัดและการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายใต้ข้อตกลงปารีส

ประเทศไทยร่วมลงนามในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้ไทยต้องเพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 120 ล้านตันเทียบเท่าภายในปี พ.ศ.2580 นอกจากนี้ไทยก็ได้รับรองกรอบความร่วมมือคุนหมิง-มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montréal Global Biodiversity Framework) เพื่อที่จะหยุดยั้งการสูญเสียและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์ทางบก ทางทะเล และน้ำจืดให้ได้ร้อยละ 30 ภายในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 – หรือเป้าหมาย 30×30

หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล

ในเวทีเสวนา Mae Fah Luang Sustainability Forum 2024 หัวข้อ “ปลูกป่า ปลูกคน: ทางเลือก ทางรอด”
หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่าหัวใจของความสำเร็จที่ประเทศไทยจะบรรลุตามข้อตกลงประกอบด้วยการใช้กระบวนการทางธรรมชาติ (nature-based solution) และการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งเป็นการสรุปบทเรียนมาจากการปลูกป่าบนดอยตุงของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ที่ดำเนินมาครบ 36 ปี

“การมีป่าเพียงอย่างเดียวกำลังจะไม่เพียงพอ เพราะโลกกำลังต้องการป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และนอกจากนั้นป่ากับความหลากหลายจะยั่งยืนได้ก็ต้องมีคนคอยดูแล ซึ่งก็คือชุมชน ดังนั้นในการเดินไปสู่เป้าหมายของประเทศจะต้องมีทั้งสองปัจจัยนี้ และจะแยกจากกันไม่ได้”

ตลอดระยะเวลา 36 ปีที่ปลูกป่าบนดอยตุง มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ฟื้นฟูป่าได้ประมาณ 90,000 ไร่ สร้างอาชีพที่ดีแก่ประชาชนกว่าหนึ่งหมื่นคน และได้รับการรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกกว่า 419,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ภาคีต่าง ๆ ในระยะยาว

นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากกรมป่าไม้ และภาคีภาครัฐและเอกชน 25 องค์กร ที่ร่วมกับ 281 ชุมชน เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชนกว่า 258,186 ไร่ โดยมีเป้าหมายขยายโครงการไปยังป่าชุมชน 1 ล้านไร่ ภายในปี 2570 จากพื้นที่ป่าชุมชนทั้งหมด 6.8 ล้านไร่ในปัจจุบัน

“ในช่วงไฟป่าที่ผ่านมา คนไทยพากันหวาดกลัว PM2.5 แต่เราพบว่าไฟป่าในป่าชุมชนที่ร่วมงานกันลดลงจากเฉลี่ย 22% เหลือเพียง 0.86% จึงพิสูจน์แล้วว่าชุมชนเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม สอดคล้องกับพระบรมราโชบาย “ปลูกป่า ปลูกคน” นี่จึงทำให้เห็นว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ดี ตั้งแต่แก้ปัญหาหมอกควัน เพิ่มพื้นที่ป่า สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้ชุมชน และเอกชนได้รับคาร์บอนเครดิต”

นอกจากนี้ ในขณะที่การแสวงหาคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต  หม่อมหลวงดิศปนัดดา ยังตั้งข้อสังเกตว่าประชาคมโลกกำลังจัดมาตรฐานคาร์บอนเครดิตกันใหม่ โดยมีแนวโน้มการพัฒนาคาร์บอนเครดิตที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างประโยชน์แก่ชุมชนในป่า

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นโยบายและแนวทางการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ”

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเผชิญและรับมือกับปัญหาที่ตามมา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อาทิ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของฤดูกาล การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ประเทศไทยในฐานะภาคีสมาชิกกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความตกลงปารีส จะต้องดำเนินการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อนำไปสู่การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับประชาคมโลก รวมทั้งการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ทั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 รวมทั้งเป้าหมายการมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นอกจากนี้ประเทศไทยได้รับรอง กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework: KM – GBF) เพื่อหยุดยั้งการสูญเสียและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ นำไปสู่การบรรลุพันธกิจปี ค.ศ. 2030 (2030 Mission ) และวิสัยทัศน์ ปี ค.ศ. 2050 ให้ประชาคมโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่กับการมีธรรมชาติที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย 4 เป้าประสงค์ ดังนี้ เป้าประสงค์ A เพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ทุกระบบนิเวศ เป้าประสงค์ B ดำรงรักษาหรือเพิ่มพูนประโยชน์ที่ได้รับจากธรรมชาติ เป้าประสงค์ C แบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม เป้าประสงค์ D แก้ปัญหาช่องว่างทางการเงินและแนวทางดําเนินงานอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการบรรลุวิสัยทัศน์ ปี ค.ศ. 2050

ทั้งนี้ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจัดทำ ร่าง พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นการวางกรอบกฎหมาย กลไก และเครื่องมือในภาคบังคับและส่งเสริมที่จำเป็นและเหมาะสมกับการขับเคลื่อนประเทศไทย ให้บรรลุเป้าหมายการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน สำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 29 (COP 29) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 22 พฤศจิกายน 2567 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน โดยมีเป้าหมายสำคัญที่ต้องการผลักดันในการยกระดับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการจัดทำเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับที่ 2 (NDC 3.0) ซึ่งมีกำหนดจัดส่งในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2025 ดร.พิรุณ ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “เพราะเราไม่ได้เป็นเจ้าของโลกใบนี้ จึงต้องช่วยกันดูแล และส่งต่อโลกที่ดีและยั่งยืนให้คนรุ่นต่อไป”

ภายในงานยังพูดถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนควบคู่กับการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชนภายใต้โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งให้ผลพลอยได้เป็นคาร์บอนเครดิตที่สร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายรองเพชร บุญช่วยดี รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. นายสมิทธิ หาเรือนพืชน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนการปฏิบัติงานพิเศษ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และ นางปราณี ราชคมน์ ประธานเครือข่ายป่าชุมชน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ขณะเดียวกันยังมีการเสวนาหัวข้อ “ความยั่งยืนของภาคธุรกิจ: จากทางเลือกสู่ทางรอด” โดยตัวแทนภาคเอกชนมาแบ่งปันวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนที่ชัดเจน กลยุทธที่ปฏิบัติได้จริง ได้แก่ นางต้องใจ ธนะชานันท์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มงานความยั่งยืนและกลยุทธ์ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) นางสุศมา ปิตากุลดิลก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืนและบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ Wealth และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ นางสุมลรัตน์ ทวีกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนองค์กร บริษัท ยูนิชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด

นอกจากนี้ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ยังพร้อมนำองค์ความรู้ด้านความยั่งยืนไปเสริมทัพกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรเอกชนเพื่อนำกลยุทธความยั่งยืนขององค์กรไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การพัฒนาชุมชน การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการระบบน้ำ การปลูกและฟื้นฟูป่า การจัดการของเสีย เป็นต้น และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ยังมุ่งมั่นต่อยอดแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนควบคู่กับการฟื้นฟูและรักษาธรรมชาติ สอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based solution) และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและประโยชน์จากระบบนิเวศเป็นแนวทางในการปรับตัว (Ecosystem-based adaptation)

การจัดงานครั้งนี้ยังได้รับตรารับรอง Net Zero Event งานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก “สุทธิเป็นศูนย์” จาก อบก. โดยมีการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในงานด้วย “คาร์บอนเครดิตจากการอนุรักษ์ป่าไม้” ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ จังหวัดเชียงราย

หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและคาร์บอนเครดิตระหว่างไทยกับต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะนางอุรีรัชต์ เจริญโต เอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและคาร์บอนเครดิตระหว่างไทยกับต่างประเทศ ในโอกาสเดินทางเยือนสิงคโปร์เพื่อแสวงหาความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนสิงคโปร์ที่เกี่ยวข้อง

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเป็นองค์กรที่น้อมนำศาสตร์แห่งพระราชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการป่าชุมชนที่สอดคล้องกับการส่งเสริมความยั่งยืนควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชน ซึ่งสามารถนำไปเผยแพร่ในต่างประเทศให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ โดยปัจจุบันมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงมีโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนในต่างประเทศหลายแห่ง

เอกอัครราชทูตฯ ยินดีที่มูลนิธิฯ ประสงค์จะขยายความร่วมมือด้านการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับสิงคโปร์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและมีพัฒนาการด้านความยั่งยืนและการสร้างตลาดคาร์บอนเครดิตที่ก้าวหน้า ทั้งนี้ ความยั่งยืนจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่หลายประเทศใช้ส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ยินดีที่จะสนับสนุนการดำเนินความร่วมมือของมูลนิธิฯ ในสิงคโปร์ต่อไป

จังหวัดเชียงราย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประชาชนชาวเชียงรายจัดพิธีถวายขันดอก น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จย่า เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตปีที่ 29

พิธีถวายขันดอก จัดขึ้น ณ อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง (ไร่แม่ฟ้าหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย นำโดย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย, คุณหญิงพวงร้อย ดิศกุล ณ อยุธยา นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ กรรมการ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ นำผู้แทนจากหน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนรวม 88 ขบวน กว่า 5,000 คนจัดขบวนตุงและขันดอกอันเป็นพุ่มดอกไม้เครื่องสักการะแบบล้านนา เพื่อถวายสักการะและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่าไม่เสื่อมคลาย