สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล

วันที่ 20 ตุลาคม พุทธศักราช 2564 เวลา 17 นาฬิกา 50 นาที สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังศาลา 3 วัดเทพศิรินทราวาสในการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิต เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พุทธศักราช 2564 สิริอายุได้ 81 ปี 11 เดือน

หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล เป็นโอรสในหม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล และหม่อมเจ้าลุอิสาณ์ ดิศกุล เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2482 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา (บลูมมิงตัน) ประเทศสหรัฐอเมริกา เข้ารับราชการที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2510 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และปฏิบัติงานสนองพระราชดำริด้านการพัฒนาของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีตลอดพระชนม์ชีพ

นับตั้งแต่ปี 2515 เป็นต้นมา หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ, ประธานคณะกรรมการ และประธานคณะที่ปรึกษาของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามลำดับ เป็นกำลังหลักในการชักนำภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน พลิกฟื้นภูเขาหัวโล้น พื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง พื้นที่ทรงงาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย ประมาณหนึ่งแสนไร่ ให้กลายเป็นผืนป่าต้นน้ำอันสมบูรณ์ ทั้งยังลดปัญหาการปลูกพืชเสพติดในวงกว้าง ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และยังนำประสบการณ์ในการสนองงานพระราชดำริและความสำเร็จของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ไปขยายผลในประเทศเมียนมา ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศอัฟกานิสถาน ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในฐานะต้นแบบของแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับโลก

หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดาให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ, มูลนิธิรากแก้ว และโครงการร้อยใจรักษ์ เพื่อขยายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนให้สัมฤทธิ์ผลอย่างกว้างขวาง ซึ่งการอุทิศตนทำงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนมายาวนานกว่า 50 ปีนี้ ทำให้เป็นที่ยอมรับและยกย่องจากองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ

  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ประจำปี 2538
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2549
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ประจำปี 2551
  • หนึ่งในผู้ประกอบการทางสังคมดีเด่น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จากมูลนิธิชวอบ (The Schwab Foundation) ประจำปี 2552
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาบริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2555
  • ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบันบัณฑิต
    พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ประจำปี 2559
  • ศิษย์เก่าผู้ทรงคุณวุฒิได้รับรางวัล Thomas Hart Benton Mural Medallion มหาวิทยาลัยอินเดียนา (บลูมมิงตัน) ประจำปี 2559

นอกจากนี้ หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ยังดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการมูลนิธิในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอีกหลายแห่ง ได้แก่ มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) มูลนิธิขาเทียม และมูลนิธิถันยรักษ์ ตลอดจนเป็นกรรมการของหน่วยงานชั้นนำต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

ด้านชีวิตครอบครัว หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา สมรสกับ คุณหญิงพวงร้อย ดิศกุล ณ อยุธยา มีบุตรชาย 2 คน คือ ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล และ ม.ล.ศานติดิศ ดิศกุล เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน คือ มหาวชิรมงกุฎ

โครงการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน จังหวัดอาเจะห์ (2549-2553) “แก้ไขปัญหาด้านสุขภาพและสร้างศูนย์เรียนรู้การพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน เพื่อแก้ปัญหาการปลูกพืชเสพติดอย่างยั่งยืน”

ข้อมูลพื้นฐาน

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

พ.ศ. 2549 – 2553

พื้นที่โครงการ

9 หมู่บ้าน

ผู้รับประโยชน์

ประชากร 8,434 คน

ภาพรวมโครงการ

โครงการนี้มีความท้าทายเป็นอย่างมาก เนื่องจากจังหวัดอาเจะห์เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาสำคัญหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ปัญหาภัยสึนามิในอดีต ปัญหาการระบาดของโรคมาลาเรีย และปัญหาจำนวนผู้ทุพพลภาพสูง

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จึงเสริมสาธารณูปโภคในพื้นที่โดยมุ่งรักษาและป้องกันโรคมาลาเรียในหมู่บ้านลัมทูบาและหมู่บ้านใกล้เคียง นอกจากนั้นยังนำอาสาสมัครส่วนหนึ่งมาอบรมที่ประเทศไทยกับมูลนิธิขาเทียมฯ เพื่อมอบองค์ความรู้ หวังให้เป็นผู้ดำเนินการ สามารถไปฝึกอบรมผู้ทุพพลภาพและบุคลากรทางแพทย์เพื่อแก้ปัญหานี้ในชุมชนต่อไปได้

ในแง่ของปัญหาคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาชนบทอย่างยั่งยืนที่หมู่บ้านมาเฮง โดยส่งเสริมให้เป็นสถานีสาธิตด้านชลประทาน เกษตรกรรม ปศุสัตว์ และสุขอนามัยชุมชน ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสถานีต้นแบบให้หลายหน่วยงานเข้ามาศึกษาดูงาน

ชาวบ้านได้อะไร

อัตราการติดเชื้อมาลาเรียลดลงจากร้อยละ

2.17

เป็นร้อยละ

0.07

และไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเลยระหว่างปี 2549-2552
สามารถผลิตขาเทียมสำหรับผู้ทุพพลภาพทั่วจังหวัดอาเจะห์ได้

203 ขา

ภายในเวลา 5 ปี
กิจกรรมทางการเกษตรที่ศูนย์พัฒนาชนบทอย่างยั่งยืนที่หมู่บ้านมาเฮงทำให้ชุมชนกว่า 130 คนมีรายได้เฉลี่ยคนละประมาณ

12,000 บาท

โครงการส่งเสริมปศุสัตว์และพัฒนาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดบัลคห์ “พัฒนาด้านปศุสัตว์ ยกระดับคุณภาพชีวิต ตามบริบทของพื้นที่ ด้วยโมเดลคนอัฟกันช่วยคนอัฟกันเอง”

ข้อมูลพื้นฐาน

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

พ.ศ. 2549 – 2555

พื้นที่โครงการ

10 ตารางกิโลเมตร 15 หมู่บ้าน

ผู้รับประโยชน์

ประชากร 464 ครัวเรือน

ภาพรวมโครงการ

โครงการนี้เป็นโครงการที่ได้รับเงินทุนเบื้องต้นจากรัฐบาลเบลเยียม และมีผู้สนับสนุนอยู่หลายฝ่ายด้วยความสามัคคี เพื่อช่วยฟื้นฟูปัญหาอัตราการตายสูงของแกะพันธุ์คารากูลในพื้นที่ ภารกิจหลักของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ คือ วางแผนพัฒนาด้านปศุสัตว์ให้เหมาะกับภูมิสังคม จากนั้นหน่วยงานราชการของรัฐอิสลามอัฟกานิสถานและชาวบ้านในพื้นที่จะเป็นผู้วางแผนลงมือทำ

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้จัดอบรมอาสาสมัครด้านปศุสัตว์ให้มีความรู้เรื่องสัตวบาล พร้อมจัดตั้งธนาคารแกะ โดยให้ผู้ร่วมอบรมนำแกะเกิดใหม่เพศเมียร้อยละ 10 ในแต่ละปีมาแลกกับบริการทางสัตวบาล ซึ่งแกะเหล่านี้จะถูกมอบให้กับครอบครัวที่มากู้ยืมเพื่อทำปศุสัตว์ต่อไป เป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านการทำธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนเจ้าของกิจการปศุสัตว์รายใหม่ไปพร้อมๆ กับจำนวนแกะสุขภาพดีที่มีอัตราการตายลดลง

วิธีนี้จึงเป็นการให้ชาวบ้านช่วยชาวบ้าน เติบโตอย่างเข้มแข็งไปด้วยกัน

ชาวบ้านได้อะไร

เจ้าของแกะที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 287 ราย

อัตราการตายของแกะลดลงเหลือเพียงร้อยละ

1.05

อัตราการตายของแกะที่ลดลงคิดเป็นมูลค่า

70 ล้านบาท

โดยประมาณ
เกิดการรวมกลุ่มและมีอำนาจต่อรองทางการตลาดมากขึ้น ร่วมกันกำหนดราคาขายแกะให้สูงขึ้นได้

คนที่ไม่มีทรัพย์สินรวมจำนวน 177 ราย ได้กู้ยืมแกะ

มูลค่ารวมของปศุสัตว์คิดเป็น

56 ล้านบาท

โดยประมาณ
ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากแกะ เช่น มูลสัตว์ ขนแกะ
ทำให้

มีรายได้เพิ่มขึ้น

และ

มีรายจ่ายในครัวเรือนลดลง

หน่วยสัตวบาล จำนวน 10 ราย / กลุ่มสตรี จำนวน 40 ราย

หน่วยสัตวบาล จำนวน 10 ราย ภายใน 1 ปีผู้ที่เข้ารับการอบรมเป็นสัตวบาลสามารถประกอบอาชีพและมีรายได้ที่มั่นคง สัตวบาลบางคนสามารถลงทุนเปิดร้านขายยาปศุสัตว์เป็นของตนเอง
กลุ่มสตรี จำนวน 40 ราย พัฒนาทักษะและสนับสนุนเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการปั่นด้ายให้มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมการรวมกลุ่ม ทำให้สตรีมีรายได้และสามารถทำงานที่บ้านได้

โครงการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน “ตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐานของชุมชน สร้างความไว้วางใจ สู่การพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในระยะยาว”

ข้อมูลพื้นฐาน

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

พ.ศ. 2545 – 2547

พื้นที่โครงการ

ประมาณ 14 บ้านย่อย

ผู้รับประโยชน์

ประชากร 6,022 คน

ภาพรวมโครงการ

เมื่อต้องการแก้ปัญหาเรื่องยาเสพติดและโรคระบาด การสร้างสาธารณูปโภคเข้มแข็งรองรับความต้องการประชาชนคือรากฐานสำคัญในการแก้ปัญหา

พื้นที่หมู่บ้านหย่องข่า รัฐฉาน เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาด้านยาเสพติดและโรคระบาด อย่างมาลาเรีย วัณโรค และหิด มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จึงเข้าไปพัฒนาสาธารณูปโภคระยะยาว โดยเน้นเรื่องน้ำและการเกษตรเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ก่อนจะนำไปสู่การสร้างรายได้ภายในชุมชน สร้างโรงพยาบาลและโรงเรียน รวมถึงอบรมอาสาสมัครในพื้นที่ให้มีความรู้ด้านสาธารณสุข และส่งเสริมทักษะด้านการเกษตรให้แก่เด็กในโรงเรียน

ชาวบ้านได้อะไร

อัตราการติดเชื้อมาลาเรียลดลงจากร้อยละ

20

เหลือต่ำกว่าร้อยละ

2

ภายใน 3 ปี และอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยมาลาเรียลดลงเหลือร้อยละ 0 ในเวลาไม่ถึง 1 ปี
ชาวบ้าน 3,000 คน คนช่วยกันขุดคลองส่งน้ำโดยใช้งบประมาณเพียง

225,000 บาท

ทำให้มีพื้นที่รับน้ำเพิ่มขึ้น

2,000 ไร่

ชาวบ้านสามารถปลูกพืชยังชีพและพืชเศรษฐกิจได้ 3 ครั้งต่อปี และมีอาหารเพียงพอสำหรับรับประทานตลอดปี
โครงการนี้ลงทุนทั้งหมด

25,600,000 บาท

(หรือเฉลี่ย 4,240 บาท/คน/ปี)
ภายใน 3 ปีหลังการจัดตั้งโครงการนี้สามารถทำประโยชน์ให้กับชุมชนในรูปของเงินสดและสิ่งของ คิดเป็นมูลค่า

28,182,960 บาท

(หรือ 4,680 บาท/คน/ปี)

โครงการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน อำเภอเยนันชอง ภาคมะกวย “พัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่แห้งแล้ง สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนในเมียนมา”

ข้อมูลพื้นฐาน

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

พ.ศ. 2554 – 2559

พื้นที่โครงการ

216,266.93 ไร่

ผู้รับประโยชน์

ประชากร 12,814 คน
จาก 3,249 ครัวเรือน

ภาพรวมโครงการ

อำเภอเยนันชองอยู่ในเขตพื้นที่ตอนกลางของประเทศเมียนมา เป็นทะเลทรายที่มีปัญหาสำคัญคือความแห้งแล้งและความยากจนของคนในท้องที่ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จึงเน้นส่งเสริมด้านปศุสัตว์และการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ตามมาด้วยการมุ่งพัฒนาระบบน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคในอนาคต

นอกจากนั้น มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ยังส่งเสริมอบรมตัวแทนชุมชนให้มีความรู้เกี่ยวกับการปศุสัตว์อย่างครบวงจรเพราะการทำปศุสัตว์ในพื้นที่ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารและการสร้างรายได้ให้ชุมชนได้ ซึ่งทุกวันนี้โครงการในพื้นที่เยนันชองได้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านปศุสัตว์และการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐและชุมชนอื่นๆ มาศึกษาดูงานได้

ชาวบ้านได้อะไร

กองทุนเซรุ่มแก้พิษงูช่วยชีวิต

85 ชีวิต

พร้อมมีกองทุนหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืน
ระยะเวลาในการหาน้ำลดจาก

71 นาที/วัน

เหลือ

31 นาที/วัน

อัตราการตายของสัตว์ลดลงจาก

7 %

เหลือ

5 %

คิดเป็นมูลค่า 58,591,841 บาท
ธนาคารแพะเพิ่มจำนวนแพะ

8,529 ตัว

คิดเป็นมูลค่า

14,089,350 บาท

และสร้างรายได้ให้ชาวบ้านที่ขายแพะไปแล้วอีก 7,132,950 บาท
ครัวเรือนภายใต้เส้นความยากจนลดจาก

97%

เหลือ

52%

ในระยะเวลา 6 ปี
อาสาสมัครพัฒนา

68 คน

ขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนของตนเองได้ในระยะยาว
เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการพัฒนาด้านปศุสัตว์อย่างครบวงจร มีเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ของรัฐบาลเมียนมา มาศึกษาดูงานรวม

297 คน